วันอาทิตย์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

กรณีศึกษา (กรณีที่ 1-9)

กรณีศึกษา กรณีศึกษาจากองค์กรธุรกิจต่างๆ (กรณีที่ 1-9)

กรณีศึกษา 1 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน

            การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับระบบการจองตั๋วเครื่องบินนั้น จะทำให้เกิดความสะดวกและลดค่าใช้จ่ายลงได้มาก เมื่อเทียบกับระบบเดิม ปัจจุบันสายการบินต่าง ๆ ได้มียอดการจองที่นั่งผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์มากขึ้น โดยเฉพาะสายการบินอเมริกัน แอร์ไลน์ นั้นมีรายได้ที่มาจากการจองตั๋วผ่านเครือข่ายมากกว่า 50% ของรายได้ทั้งหมดของบริษัท

            ซาเบอร์ (Saber) เป็นระบบการจองตั๋วเครื่องบินของอเมริกันระบบแรกและเป็นการลงทุนที่ แพงมากสำหรับพัฒนาระบบดังกล่าว เมื่อเปลี่ยนมาเป็นระบบเชื่อมโยงต่อกัน (On-line) กลับถูกคู่แข่งขันรายอื่นยื่นคำฟ้องต่อศาลโดยอ้างว่าระบบนี้ไม่ให้ความเป็น ธรรมแก่ชาวอเมริกัน นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มงานเพราะทำให้พวกเขาต้องพยายามที่จะพัฒนากลไกระบบ ของตนเองอีกด้วย ในแง่มุมด้านการแข่งขันของระบบซาเบอร์กับคู่แข่งขันรายอื่น ๆ นั้นได้ดำเนินต่อเนื่องมาจนถึงสิ้นปี ค.ศ. 1999 และอาจกล่าวได้ว่า ตั๋วเครื่องบินในสหรัฐอเมริกาอย่างน้อย 3 ใน 5 ใบ ที่บริษัทขายตั๋วออกให้แก่ผู้โดยสารทางอากาศนั้น ได้รับการจองล่วงหน้าผ่านระบบซาเบอร์นั่นเอง คดีฟ้องร้องเกี่ยวกับระบบซาเบอร์ยังได้ดำเนินต่อไปเรื่อย ๆ และได้มีการพิจารณาเกี่ยวกับกฎระเบียบที่จะใช้บังคับการแพร่กระจายของระบบซา เบอร์ซึ่งครอบงำระบบการจองตั๋วรายอื่น ๆ ทั้งหมด อย่างไรก็ตามนายโรเบิร์ด แครนเดล ประธานและหัวหน้าใหญ่ของบริษัทซาเบอร์สายการบินอเมริกันได้ให้ข้อคิดว่า “ถ้าท่านให้ผมเลือกขายระหว่างสายการบินกับระบบซาเบอร์แล้ว ผมคงต้องเลือกขายสายการบินดีกว่า”

            ระบบซาเบอร์ (Saber) ก็คล้าย ๆ กับระบบจองตั๋วส่วนใหญ่ที่ใช้กันในปัจจุบัน คือเป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองการใช้กฎระเบียบและข้อ บังคับของอุตสาหกรรมสายการบินให้ใช้งานง่ายขึ้น จริง ๆ แล้วการใช้งานได้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 70 และต่อเนื่องมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 80 การผ่อนคลายกฎระเบียบและข้อบังคับจากภาครัฐบาลเกิดขึ้นมาเพื่อให้สายการบิน สามารถกำหนดราคาตั๋วเครื่องบิน เส้นทางการบิน และการบริหารงานภายในของตนเองได้ ราคาตั๋วเครื่องบินโดยสารมีราคาถูกลงกว่าเดิมอย่างมาก โดยเฉพาะการเดินทางเป็นกลุ่ม (Package) สำหรับผู้ที่ชอบเดินทางโดยเครื่องบินบ่อยๆ และนักธุรกิจ จะได้รับประโยชน์เป็นอย่างมาก ทำให้สายการบินมีรูปแบบของการจัดชั้นบริการตามความต้องการของผู้โดยสารได้

            ระบบการจองตั๋วเครื่องบิน มีรายละเอียดดังต่อไปนี้คือ สายการบินใหญ่ ๆ แต่ละสายการบินจะมีระบบการจองตั๋วเป็นของตนเอง เช่น สายการบินที.ดับบลิว.เอ (TWA) มีระบบการจองตั๋วที่เรียกว่า ปาร์ส (Pars) และสายการบินเดลต้า (DELTA) มีระบบการจองตั๋วชื่อว่า ดาต้าส (Datas) อย่างไรก็ตามได้มีสำนักวานตัวแทนจำหน่ายตั๋วเดินทางมากกว่า 40,000แห่ง ซึ่งคิดเป็น 90 % ของสำนักงานตัวแทนทั้งหมด ในสหรัฐอเมริกาในปัจจุบันได้เชื่อมต่อตรง (On-line) เข้ากับ 3 ระบบการจองตั๋วดังกล่าว นอกจากนี้สำนักงานตัวแทนจำหน่ายแต่ละแห่งยังสามารถทำการจองตั๋วเที่ยวบิน ต่าง ๆ ผ่านสายการบินอื่น ๆ ได้อีกด้วย จากการศึกษาพบว่าสายการบินได้จัดหาสำนักงานตัวแทนจำหน่ายและเชื่อมเข้ากับ ระบบคอมพิวเตอร์หลักของสายการบิน หรืออาจกล่าวได้ว่าแต่ละสายการบินต้องการเพิ่มจำนวนสำนักงานตัวแทนจำหน่าย ที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลเข้ากับระบบกลางของสายการบินนั้น ๆ

            ระบบซาเบอร์ อพอลโลปาร์ส และดาต้าส จะสื่อสารกันเป็นระบบเวลาจริง (Realtime) เช่น สามาระถทำการจองที่นั่งในเครื่องบินเดลต้าผ่านระบบซาเบอร์หรือจองที่นั่งของ เครื่องบินอเมริกันผ่านระบบปาร์สก็ได้อย่างไรก็ตามการสำรองที่นั่งผ่านสาย การบินคู่แข่งขันในแต่ละครั้งนั้น สายการบินที่เป็นเจ้าของระบบสำรองที่นั่งจะต้องได้รับค่าธรรมเนียม ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับคู่แข่งขัน แต่ละสายการบินจึงต้องการที่จะสำรองที่นั่งโดยผ่านระบบของตนเองให้มากเท่า ที่จะเป็นไปได้

กลยุทธ์การแข่งขัน

          สายการบิน ต่าง ๆ สามารถใช้ระบบการสำรองที่นั่งของตนเอง เพื่อสร้างความได้เปรียบด้านการแข่งขันในหลาย ๆ ทาง กลยุทธ์ที่นิยมใช้กันสามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้
    1. การควบคุมระบบสารสนเทศที่แสดงบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ของตัวแทนจำหน่ายตั๋ว สำหรับการเดินทาง เช่น สายการบินที่เป็นเจ้าของระบบสำรองที่นั่ง มักจะแสดงรายการของสายการยินของตนเองเป็นอันดับแรก (หรือในลักษณะที่เลือกเองได้) ก่อนที่จะแสดงรายการของคู่แข่งขันอื่น ๆ
    2. การมีสำนักงานตัวแทนจำหน่ายตั๋วเดินทางและมีการทำสัญญาข้อตกลงกันไว้ในวัน ที่ซื้อตั๋วว่าจะสร้างความเชื่อมั่นให้กับสายการบินว่าลูกค้าจะไม่เปลี่ยนใจ ไปใช้บริการระบบของคู่แข่งขัน
    3. ถ้ามีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมสำหรับสายการบิน จะมีการระบุไว้ในระบบสำรองที่นั่ง
    4. การเสนอเครื่องคอมพิวเตอร์ให้แก่สำนักงานตัวแทนจำหน่ายต่าง ๆ เพื่อให้ตัวแทนเหล่านั้นสามารถประมวลผลของตนเองแล้วต่อเชื่อมตรง (On-line) ในการจองตั๋วสายการบิน
    5. การเพิ่มจำนวนการให้บริการที่เสนอผ่านระบบสำรองที่นั่ง จนกระทั่งตัวแทนจำหน่ายสามารถสำรองการเช่ารถและห้องพักของโรงแรมให้แก่ผู้ เดินทางได้อย่างสะดวก สายการบินใหญ่ ๆ ได้แบ่งระบบการสำรองที่นั่งออกไปเป็นส่วนย่อย ๆ ซึ่งการแบ่งแยกย่อยเหล่านี้จะให้บริการธุรกรรมการจองต่าง ๆ กับสายการบินขนาดเล็กและบริษัทในอุตสาหกรรมอื่น ๆ
              การแข่งขันที่รุนแรงระหว่างสายการบิน เป็นสิ่งบ่งชี้ให้เห็นถึงการเจริญเติบโตของการใช้บริการสายการบินระหว่าง ช่วงปี ค.ศ. 1990-1999 สงครามราคาตั๋ว ตั๋วกลุ่มพิเศษสำหรับผู้ใช้เส้นทางบ่อย ๆ และการให้บริการใหม่ ๆ จะยังคงมีต่อไปเพื่อพัฒนาให้อุตสาหกรรมสายการบินมีความทันสมัยและเป็นไปตาม ความต้องการของผู้โดยสาร บางบริษัทเช่น อิสเทิร์น (Eastern Airlines) และแพนเอ็ม (PAN AM) ได้ปิดกิจการลงเนื่องจากมีความกดดันด้านการแข่งขัน ทำให้มีการล้มละลายของแต่ละสายการบินขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศได้แสดงบทบาทที่สำคัญในการเปลี่ยนรูปแบบของบริษัทและการ ให้บริการ ซึ่งระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ยังคงเป็นปัจจัยหลักของการได้เปรียบในการแข่งขันเช่นนี้ต่อไปอีกในอนาคต

ปัญหาและข้ออภิปราย 

1. จงอภิปรายว่าวิธีการในระบบการสำรองที่นั่งของสายการบิน สามารถช่วยให้สายการบินปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิผลยิ่งขึ้นได้อย่างไร
ตอบ
การ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับระบบการจองตั๋วเครื่องบินนั้น จะทำให้เกิดความสะดวกและลดค่าใช้จ่ายลงได้มาก เมื่อเทียบกับระบบเดิม ปัจจุบันสายการบินต่าง ๆ ได้มียอดการจองที่นั่งผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์มากขึ้น โดยเฉพาะสายการบินอเมริกัน แอร์ไลน์ นั้นมีรายได้ที่มาจากการจองตั๋วผ่านเครือข่ายมากกว่า 50% ของรายได้ทั้งหมดของบริษัทวิธี การในระบบสำรองที่นั่งในสายการบินสามารถช่วยให้สายการบินปฏิบัติงานอย่างมี ประสิทธิผลยิ่งขึ้น คือ ราคาตั๋วถูกลงสำหรับการเดินทางกลุ่ม (package)ผู้ที่ต้องการดเดินทางด้วยเครื่องบินบ่อยๆ ทำให้สายการบินมีรูปแบบของการจัดชั้นบริการตามความต้องการของผู้โดยสารได้

2.แต่ ละสายการบินมีระบบการสำรองที่นั่งแตกต่างกันอย่างไร และแต่ละระบบมีข้อได้เปรียบซึ่งกันและกันอย่างไร นอกจากนั้นระบบต่าง ๆ เหล่านั้นได้สร้างความยุ่งยากให้กับสำนักงานตัวแทนสายการบินและสายการบิน เล็ก ๆ อย่างไร
ตอบ
แต่ละสายการบินมีระบบสำรองที่นั่งแตกต่างกันคือ สายการบิน ที.ดับบลิว.เอ (TWA) มีระบบการจองตั่ว เรียกว่า ปาร์ส (Pars) และสายการบินเดลต้า (DELTA) มีระบบจองตั๋วชื่อว่า ดาต้าส (Datas) ข้อได้เปรียบที่แต่และสายการบินปฏิบัติ คือ
         1. แสดงรายการของสายการบินตัวเองเป็นอันดับแรกก่อนแสดงรายการของคู่แข่ง
         2.ตั๋ว แทนจำหน่ายตั๋วเดินทางจะทำสัญญาข้อตกลงไว้ในวันซื้อตั๋วเพื่อสร้างความเชื่อ มั่นว่าลูกค้าจะไม่เปลี่ยนใจไปใช้บริการของระบบคู่แข่ง
         3. ถ้ามีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมสำหรับสายการบินจะระบุไว้ในระบบสำรองที่นั่ง
         4.เสนอเครื่องคอมพิวเตอร์ให้แก่สำนักงานเพื่อให้ตัวแทนประมวลผลของตนเองแล้วต่อเชื่อมตรง (On-line) ในการจองตั๋วสายการบิน
         5.เพิ่ม จำนวนการให้บริการที่เสนอผ่านระบบสำรองที่นั่ง เช่น สำรองการเช่ารถ และห้องพักของโรงแรม ระบบต่างๆ เหล่านี้ได้สร้างความยุ่งยากให้กับสำนักงานตัวแทนสายการบินเล็กๆ จากการแข่งขันที่รุ่นแรงทำให้บางบริษัท เช่น อิสเทิร์น (Eastern Airlines) และแพนเอ็ม (PAN AM) ปิดกิจการลง ทำให้มีการล้มละลายของแต่ละสายการบินขึ้น มีการสำรองที่นั่งสายการบินเพื่อเปิดการเชื่อมต่อกับตัวแทนจำหน่ายตั๋ว และปิดกั้นคู่แข่งโดยให้ลูกค้าทำสัญญาการเดินทางในการจองตั๋วบริการความ สะดวกให้ตัวแทนจำหน่ายตั๋วสามารถเช่ารถและจองห้องพักของโรงแรมให้ลูกค้าได้ การบริการสำรองที่นั่งสายการบินผ่านตัวแทนจำหน่ายตั๋วและปิดกั้นคู่แข่งโดย เปิดบริการแบบใหม่ๆ คือ ต้องรู้ข้อมูลจากกลุ่มที่มารับบริการว่ากลุ่มไหนชอบอะไร จัดบริการเสริมตามความต้องการให้เหมาะสมกับผู้มารับบริการ

3.มีการใช้ระบบสำรองที่นั่งสายการบินเพื่อเปิดการเชื่อมต่อกับตัวแทนจำหน่ายตั๋วและปิดกั้นคู่แข่งขันอย่างไร
ตอบ
มี การสำรองที่นั่งสายการบินเพื่อเปิดการเชื่อมต่อกับตัวแทนจำหน่ายตั๋ว และปิดกั้นคู่แข่งโดยให้ลูกค้าทำสัญญาการเดินทางในการจองตั๋วบริการความ สะดวกให้ตัวแทนจำหน่ายตั๋วสามารถเช่ารถและจองห้องพักของโรงแรมให้ลูกค้าได้

4.ท่าน คิดว่าระบบการสำรองที่นั่งของสายการบินควรได้รับการพัฒนาให้มีระบบชั้นของ การบริการแบบใหม่ ๆ และให้มีประสิทธิผลได้อย่างไร บริการเสริมอะไรที่ท่านคิดว่าควรจะเสนอให้แก่ผู้โดยสาร และท่านจะทำอย่างไรให้ผู้โดยสารสนใจในสิ่งที่ท่านเสนอเหล่านี้
ตอบ
การ บริการสำรองที่นั่งสายการบินผ่านตัวแทนจำหน่ายตั๋วและปิดกั้นคู่แข่งโดยเปิด บริการแบบใหม่ๆ คือ ต้องรู้ข้อมูลจากกลุ่มที่มารับบริการว่ากลุ่มไหนชอบอะไร จัดบริการเสริมตามความต้องการให้เหมาะสมกับผู้มารับบริการ

กรณีศึกษา 2 ผู้ทำการค้ารถยนต์ได้ใช้ระบบสารสนเทศหลายรูปแบบ เพื่อชิงความเปรียบในการแข่งขัน

            บริษัท Frankin Chevrolet/Toyota เป็นบริษัทผู้ร่วมทำการค้ารถยนต์ในเมือง Statesboro รัฐ Georgia ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยขายและให้บริการแก่เจ้าของรถใหม่และรถที่ใช้แล้ว ตลอดจนการช่วยลูกค้าในการจัดทำไฟแนนซ์ เป็นผู้ประกอบการค้ารถยนต์ทั่วไปเช่นเดียวกับผู้ประกอบการรายอื่น ๆ บริษัทร่วมดังกล่าวต้องพึ่งพาเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) อย่างมาก ทั้งนี้ก็เพื่อให้สามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้
           วีดีโอเท็กซ์ (Videotext) เป็นส่วนหนึ่งของระบบหลักที่ใช้ในฝ่ายขายชิ้นส่วนและฝ่ายบริการ วีดีโอเท็กซ์ส่วนใหญ่ก็คือ แคตตาล็อกรายการชิ้นส่วนแบบเชื่อมตรง (On-line) ซึ่งมีการติดตั้งไว้ด้านบนของเคาน์เตอร์บริการ และมีจอหมุนรอบตัวเพื่อให้มองเห็นได้ทั้ง 2 ด้าน การค้นหาชิ้นส่วยเริ่มขึ้นเมื่อลูกค้าหรือช่างคนใดคนหนึ่งบอกเจ้าหน้าที่ ฝ่ายชิ้นส่วนของบริษัทว่าต้องการชิ้นส่วนของรถรุ่นใด ปีใด ภาพของรถจะปรากฏขึ้นที่จอภาพ ระบบนี้จะช่วยขยายชิ้นส่วนของรถเพื่อ ให้เห็นได้อย่างชัดเจน แม้จะมีขนาดเล็กมากก็ตาม จอภาพที่หมุนได้จะช่วยให้ลูกค้าหรือช่างรู้ถึงชิ้นส่วนที่ตนต้องการ เมื่อได้รับการยืนยันแล้วเจ้าหน้าที่ผ่ายชิ้นส่วนจะได้รับหมายเลขชิ้นส่วน สำหรับแต่ละรายการที่ต้องการจากระบบวีดีโอเท็กซ์ ต่อจากนั้นหมายเลขชิ้นส่วนก็จะเข้ามาสู่คอมพิวเตอร์อีกครั้งหนึ่งซึ่งเชื่อม ต่อเข้าด้วยกัน เพื่อวินิจฉัยว่าชิ้นส่วนที่ต้องการนั้นมีอยู่ในสต๊อกหรือว่าต้องสั่งซื้อ การสั่งซื้อชิ้นส่วนที่ไม่มีในสต๊อกจะกระทำโดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ระบบวีดีโอเท็กซ์ยังช่วยให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายชิ้นส่วนสามารถค้นหาชิ้น ส่วนของรถจากคลังเก็บชิ้นส่วนของผู้ประกอบการรายอื่น ๆ ในพื้นที่นั้นได้อีกด้วย ถ้าผู้ประกอบการรายอื่นไม่มีชิ้นส่วนที่ต้องการเลยก็จะป้อนคำสั่ง อิเล็กทรอนิกส์ให้แก่บริษัทที่จัดส่งชิ้นส่วน ซึ่งบริษัทดังกล่าวก็จะส่งคำสั่งอิเล็กทรอนิกส์กลับมาเพื่อแจ้งให้ทราบว่าจะส่งชิ้นส่วนให้ได้เมื่อใด
           งานขายได้รับการสนับสนุนจากระบบต่าง ๆ หลายระบบ เจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรการจะใช้ซอฟต์แวร์สำหรับงานพิมพ์ งานออกแบบ งานโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ เพื่อดึงดูดความสนใจจากผู้ซื้อให้เข้ามาเยี่ยมชมโชว์รูม และช่วยเจ้าหน้าที่ฝ่ายขายที่ไม่สามารถดึงดูดความสนใจจากผู้ที่มีแนวโน้มว่า จะซื้อให้เข้าชมรถที่มีอยู่ ดังนั้นการใช้ระบบที่ช่วยมองเห็นรถจึงเป็นทางเลือก (Option) ที่เหมาะสม และสามารถติดต่อกับบริษัทอื่นในเขตเดียวกันว่ามีรถที่ต้องการหรือไม่ ถ้าไม่มีก็จะใช้คำสั่งหรือใบสั่งด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ส่งตรงสู่โรงงานผู้ ผลิตโดยมีรายการที่ลูกค้าต้องการควบคุมทุกอย่างเมื่อเร็ว ๆ นี้บริษัทแฟรงคลินได้ริเริ่มการจัดห้องพิเศษเพื่อรองรับระบบการฝึกอบรมโดย ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียแบบใหม่ ซึ่งผลิตและจัดจำหน่ายโดยบริษัท General Motor เป็นการรวมเอาวีดีโอเท็กซ์ (Videotext) ออดิโอเท็กซ์ (Audiotext) และส่วนข้อมูลเข้าด้วยกันในหน่วยเดียว ซึ่งผู้ผลิตจะเปิดโอกาสให้ช่าง เจ้าหน้าที่ฝ่ายชิ้นส่วน และเจ้าหน้าที่ฝ่ายขายเข้ารับการฝึกอบรมในขั้นเริ่มต้น ขั้นกลาง และขั้นสูงได้

           ผู้ประกอบการคาดว่าให้ความสนับสนุนด้านเทคโนโลยี สารสนเทศ (IT) ของตนจะมีความซับซ้อนและ พัฒนามากยิ่งขึ้น ในอนาคตคาดว่าระบบข้อความในสำนักงานขายจะมีระบบกราฟฟิกที่ทันสมัยกว่าเข้ามา ใช้แทน ทั้งนี้ก็เพื่อให้ลูกค้าสามารถมองเห็นว่าสิ่งที่ตนสั่งนั้นมีลักษณะเป็น อย่างไร บริษัทแฟรงคลินยังหวังอีกด้วยว่าแผนกบริการแต่ละแผนกจะมีคอมพิวเตอร์ปลายทาง (Terminal) ที่ทำงานโดยใช้ซอฟต์แวร์ของระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert system) ซึ่งช่วยช่างในการวินิจฉัยปัญหา และบอกส่วนที่มีประสิทธิผลที่สุดของทางเลือก (Option) ในการให้บริการนอกจากนั้นยังคาดว่าจะมีการใช้ระบบการประชุมทางไกล (Video-conference) ซึ่งจะช่วยให้ช่างได้รู้จักกับผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ เพื่อที่จะนำตนเข้าสู่ระบบในการซ่อมบำรุงที่ซับซ้อนต่อไป

ปัญหาและข้ออภิปราย

1.จงบรรยายถึงวิธีการที่ผู้ประกอบการค้ารถยนต์ใช้กันอยู่ว่าสามารถช่วยงาน แต่ละฝ่ายให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น อย่างไร
ตอบ
การ ใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการปฏิบัติงานนั้น เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง มีความจำเป็นต่อการให้บริการ และบริหารทุกฝ่าย สามารถสืบค้นข้อมูลสารสนเทศ ด้านการค้า ให้ได้ตามความต้องการ และบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรนั้น โดยนำโปรแกรมอัตโนมัติมาใช้ คือ Videotext เพื่อตอบสนองลุกค้าได้สะดวกรวดเร็วของลูกค้า ผู้ใช้บริการ ให้เกิดความพึงพอใจ

2. ผู้ประกอบการค้ารถยนต์กำลังใช้ระบบระหว่างองค์การ (Inter-organizational systems) ประเภทใด และระบบดังกล่าวอำนวยประโยชน์ให้ผู้ประกอบการค้าในงานบริการที่มีคุณภาพใน ระดับสูงได้อย่างไร
ตอบ
IOS เป็นระบบสารสนเทศที่เชื่อมโยงกับองค์การอื่นๆ ภายนอกตั้งแต่ 2 องค์การขึ้นไป เพื่อช่วยให้การติดต่อสื่อสาร หรือประสานงานร่วมมือให้มีประสิทธิภาพ โดยผ่านระบบ IOS จะช่วยให้การไหลของสารสนเทศระหว่างองค์การ หรือ Supply chain ซัฟพรายเชน เป็นไปโดยอัตโนมัติเพื่อใช้ในการวางแผน ออกแบบ พัฒนา การผลิต และการส่งสินค้าบริการ

3. ระบบ การฝึกอบรมโดยใช้ไมโครคอมพิวเตอร์แบบมัลติมีเดีย (Multi media) และการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) อื่น ๆ มีแนวโน้มว่าจะมีคุณประโยชน์ต่อผู้ประกอบการถ้ารถยนต์ในระยะยาวได้อย่างไร
ตอบ
การฝึกอบรมโดยการนำไมโครคอมพิวเตอร์ แบบมัลติมีเดีย (Multimedia) ที่ มีทั้งภาพ เสียง สื่อประสมต่างๆ ให้ความสนใจแก่ผู้เข้ารับการอบรมได้เรียนรู้และเกิดความสนใจยิ่งขึ้น ให้ประโยชน์แก่ผู้ประกอบการ เจ้าหน้าที่ /พนักงาน ในองค์กร ที่เข้ารับการฝึกอบรมได้นำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ และ พัฒนาตนเองให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

4.จง บอกชื่อระบบอื่น ๆ มา 3 ระบบที่ท่านคิดว่าจะช่วยให้ผู้ค้ารถยนต์ เช่น บริษัท Franklin Cheurolet Toyota มีศักยภาพในการแข่งขันกับผู้อื่นได้ นอกจากนั้นท่านคิดว่าระบบที่ได้แนะนำมานั้นมีแนวโน้มที่จะเป็นประโยชน์ต่อ ผู้ค้าได้อย่างไร ถ้าหากว่าทำตามข้อเสนอแนะของท่าน
ตอบ
 - Management Informaion Systems(MIS)
                 ระบบ MIS หรือ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการเป็นระบบสาสนเทศรวบรวมข้อมูล สารสนเทศทั้งหมดภายในองค์กร อันเป็นผลมาจากการประมวลผลในระบบ DP เพื่อให้สามารถเรียกใช้ในลักษณะแบ่ง เป็นและแลกเปลี่ยนสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง หรือสัมพันธ์กันระหว่างหน่วยงานต่างๆ แสดงการไหลของข้อมูลสารสนเทศ ระหว่างหน่วยงานภายในองค์กร เพื่อให้ผู้บริหารเกิดภาพรวมในการตัดสินใจ
         - Executive information Systems(EIS)
                  เป็น ระบบสารสนเทศที่ใช้หลักการและวิธีการเดียวกับระบบ DSS ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อ รองรับงานในองค์กรขนาดใหญ่ที่มีระบบการตัดสินใจที่ซับซ้อน ต้องการความแม่นยำและรวดเร็วในการตัดสินใจจากสภาวะ หรือผลกระทบภายนอกองค์กร ดังนั้น แหล่งสารสนเทศภายนอกต่างๆ เช่นสำนักข่าว CNN ROUITER ตลาดหุ้น ห้องสมุด ฯลฯ จะได้รับการโยงเข้าสู่ระบบ EIS เพื่อให้ผู้บริการสามารถตัดสินใจได้ดี ยิ่งขึ้น และหาข้อมูลได้ตามความต้องการc
         - Expert Systems (ES)
                  ระบบ ES หรือ ระบบผู้เชี่ยวชาญ จัดเป็นระบบสารสนเทศประเภทหนึ่งที่นำวิทยาการของปัญหา ประดิษฐ์ เข้ามาใช้จัดการสารสนเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งสารสนเทศที่เป็นความ รู้ Knowledge ในเฉพาะสาขาหรือเฉพาะด้าน ดังนั้นระบบผู้เชี่ยวชาญจึงเป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สร้างฐานความ รู้Knowledge base และกลไกในการตั้งคำถามและหาคำตอบจาก Knowledge base ทำให้ผู้ใช้ได้รับความสะดวกในการถามและตอบ สิ่งที่ถามเสมือนหนึ่งคุยกับผู้เชี่ยวชาญจริงๆ


กรณีศึกษา 3 Gulfstream Aerospace ปรับปรุงแผนก MIS เพื่อสนับสนุนกลยุทธ์ของบริษัท
                บริษัท Gulfstream Aerospace สำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองซาวานนาน (Savannan) รัฐจอร์เจีย (Georgia) ประเทศสหรัฐอเมริกา ผลิตเครื่องบินไอพ่นและชิ้นส่วนอุปกรณ์ประกอบมากมาย รวมทั้งทำการติดตั้งอุปกรณ์ให้แก่ลูกค้าด้วย เครื่องบินไอพ่นขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ของบริษัท Rolls Royce มีประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกได้รับการบันทึกว่าเป็นเครื่องบินไอ พ่นดังกล่าวมีความเร็วสูงมาก และไม่นานมานี้ได้มีการบันทึกว่าเป็นเครื่องยินเดินทางระหว่างรัฐแคลิฟอร์ เนียในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศญี่ปุ่นที่มีความเร็วสูงที่สุดในโลก ซึ่งหนึ่งในผู้บริหารระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS) ของบริษัท Gulfstream Aerospace ก็คือ นาย Harry Butler
                เครื่องบินไอพ่นของ บริษัท Gulfstream Aerospace นั้นมีราคาแพงมาก ซึ่งราคาในอดีตอยู่ที่ 15 ล้านดอลลาร์ในจำนวนลูกค้าของบริษัทมีชีค (Sheiks) ซึ่งเป็นเจ้าแห่งประเทศอาหรับผู้ผลิตน้ำมันเป็นลูกค้าประจำของบริษัทด้วย รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้สั่งซื้อเครื่องบินไอพ่นความเร็วสูงไว้สำหรับตระเวน ตรวจตราด้วยเรดาห์ และรับส่งเจ้าหน้าที่ของกองทัพลงสู่พื้นที่ในกรณีเร่งด่วน เครื่องบินไอพ่นของ
                บริษัท Gulfstream Aerospace ได้รับคำชมในการปฏิบัติการ “พายุทะเลทราย (Direct storm)” ในสงครามอ่าวเปอร์เซียที่ผ่านมา แม้ว่าบริษัท Gulfstream Aerospace จะไม่สามารถผลิตเครื่องบินไอพ่นได้ปีละมากๆ แต่บริษัทก็ยังคงมีกำไรและมีเงินเดือนจ่ายให้แก่พนักงาน 3,500 คน ถึงแม้ว่าในหลาย ๆ ปีที่ผ่านมาบริษัทจะผลิตเครื่องบินไอพ่นได้น้อยกว่า 50 ลำ แต่เครื่องบินของบริษัท Gulfstream Aerospace ก็ยังคงได้รับความไว้วางใจสูง โดยบริษัทจะส่งพนักงานไปดูแลให้บริการบำรุงรักษาทันที ถ้าลูกค้าร้องขอไม่ว่าประเทศใดในโลกก็ตามที่มีการใช่เครื่องบินของบริษัท นอกจากนี้บริษัท Gulfstream Aerospace ยังมีความพร้อมด้านการวางแผน และมีชื่อเสียงด้านการให้บริการแก่ลูกค้าด้วยการหาอุปกรณ์พิเศษติดตั้งและ ตกแต่งภายในเครื่องบินตามความต้องการของลูกค้าเท่าที่จะสามารถหาให้ได้ เช่น เครื่องบินลำหนึ่งที่สั่งจากครอบครัวของกษัตริย์แห่งจอร์แดนเพื่อเป็นของ ขวัญพิเศษ ได้มีการติดตั้งภาพของเมืองที่กษัตริย์ได้เติบโตมา (มูลค่า 5 แสนดอลลาร์) และมีทองฝังตลอดภายในลำเครื่องบิน และบริษัทยังได้ผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์พื้นฐานของยานอวกาศและเครื่องบิน โดยส่งไปยังบริษัทอื่น ๆ เพื่อประกอบและติดตั้งให้สมบูรณ์สำหรับการใช้งาน
                บริษัท Gulfstream Aerospace ก่อตั้งโดยนาย Allen E. Paulson ผู้ได้รับรางวัล Horatio Alger Award โดยนาย Paulson ได้ซื้อโรงงานผลิตเครื่องบินเล็กของบริษัท Grumman และต่อมาได้ก่อสร้างบริษัท Gulfstream ขึ้น สาเหตุหนึ่งของการตัดสินใจสร้างบริษัท Gulfstream คือ บริษัทต้องดำเนินการจัดเตรียมชิ้นส่วนและให้บริการแก่เครื่องบินเล็กของ บริษัท Grumman ทั้งหมดที่สร้างในช่วงปี ค.ศ.1950-1959 ซึ่งที่ผ่านมาบริษัท Grumman ได้รับการสนับสนุนชิ้นส่วนจากบริษัท Grumman ที่มาจาก Oklahoma และรัฐ California ในปี ค.ศ.1991 เมื่อใกล้เกษียณอายุ นาย Paulson ได้ว่าจ้างนาย William Lawe ให้เป็น CEO ของบริษัท Gulfstream ก่อนที่นาย William Lawe จะมาร่วมงานกับบริษัท Gulfstream นั้น เขาเคยเป็นผู้บริหารของบริษัท IBM และบริษัท Xerox มาก่อน ขณะที่ทำงานในบริษัท IBM เขาได้ตั้งทีมโครงการพัฒนา IBM PC ขึ้นเป็นครั้งแรกและนาย Willium Lawe ยังมีตำแหน่งเป็นผู้ช่วยประธานบริษัท Xerox ด้วย เขาได้ช่วยเหลือบริษัทให้ผ่านพ้นช่วงวิกฤติไปได้ 
                Lawe ได้ประกาศความตั้งใจของเขาว่าจะเพิ่มรายได้ของบริษัท Gulfstream จาก 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ให้เป็น 4 พันล้านเหรียญสหรัฐ ภายใน 1 ปี เขาได้ปรับเปลี่ยน วางแผนกลยุทธ์ และสร้างกระบวนการต่างๆ ในบริษัทขึ้นใหม่ ตลอดจนดำเนินงานพัฒนาโปรแกรมด้านการตลาด รวมทั้งลงทุนด้านการค้าในช่วงกีฬาโอลิมปิคในปี ค.ศ.1992 ด้วย เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป้าหมายตามแนวทางที่วางแผนไว้ Lawe ได้สร้างและพัฒนาองค์การโดยได้พยายามเริ่มต้นการวิจัยและพัฒนาหน่วยงานย่อย เขาได้พัฒนาแผนกสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS) โดยสร้างระบบการจัดการที่ขึ้นตรงต่อหน่วยงานกลาง นักวิเคราะห์และโปรแกรมเมอร์ (Programmer) จะมีการปรับเปลี่ยนหน้าที่รวมทั้งแผนกจัดซื้อ การตลาด ฝ่ายผลิต การจัดการ ฝ่ายประเมินผล และฝ่ายบริหารก็มีการปรับเปลี่ยนด้วย ยกเว้นก็เพียงแต่คณะผู้บริหารที่สำคัญของบริษัทเท่านั้น Lawe ได้วางระบบการบริหารบริษัท Gulfstream ขึ้นมาหลายรูปแบบเพื่อใช้ควบคุมระบบงานในหน่วยงานย่อย ๆ Lawe คาดหวังว่าภายใน 2-3 ปี ข้างหน้า บริษัท Gulfstream จะมีความก้าวหน้าและขยายเครือข่ายได้อย่างรวดเร็วโดยเขาหวังว่าเทคโนโลยี สารสนเทศ (IT) จะเข้ามาช่วยสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ด้วย

ปัญหาและข้ออภิปราย

1. พนักงานของบริษัท Gulfstream ได้ให้ความเห็นว่าในอดีตที่ผ่านมาบริษัทเป็นองค์การที่ทำงานได้ผลดีเพราะ สามารถทำให้บรรลุเป้าหมายหลักๆ ได้ อย่างไรก็ตามการทำงานของบริษัทยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ระบบสารสนเทศประเภทใดบ้างที่บริษัท Gulfstream ควรจะนำมาใช้กับการจัดซื้อ-จัดหา การตกแต่งในขั้นสุดท้าย และการบริการ และการบำรุงรักษา เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพดีขึ้น
ตอบ
1.สารสนเทศ ของหน่วยงานย่อย (Departmental information system)ใช้สำหรับหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งขององค์การ โดยแต่ละหน่วยงานอาจมีโปรแกรมประยุกต์ใช้งานใดงานหนึ่งของตนโดยเฉพาะ เช่น ฝ่ายบุคลากรอาจจะมีโปรแกรมสำหรับการคัดเลือกบุคคล หรือติดตามผลการโยกย้ายงานของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน โดยโปรแกรมทั้งหมดที่เกี่ยวข้องของฝ่ายบุคลากร จะมีชื่อว่าระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรมนุษย์ (Human resources information system
         2.ระบบสารสนเทศแบบประมวลรายการ(Transaction Processing Systems -TPS)การบันทึกและประมวลข้อมูลที่เกิดจาก ธุรกรรมหรือการปฏิบัติงานประจำหรืองานขั้นพื้นฐานขององค์การ เช่น การซื้อขายสินค้า การบันทึกจำนวนวัสดุคงคลัง เมื่อใดก็ตามที่มีการทำธุรกรรมหรือปฏิบัติงานในลักษณะดังกล่าวข้อมูลที่ เกี่ยวข้องจะเกิดขึ้นทันที เช่น ทุกครั้งที่มีการขายสินค้า ข้อมูลที่เกิดขึ้นก็คือ ชื่อลูกค้า ประเภทของลูกค้า จำนวนและราคาของสินค้าที่ขายไป รวมทั้งวิธีการชำระเงินของลูกค้า
         3.ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems)เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยผู้บริหารตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ มีความยืดหยุ่นสูง และมีลักษณะโต้ตอบได้ (interactive) โดยอาจมีการใช้โมเดลการตัดสินใจ หรือการใช้ฐานข้อมูลพิเศษช่วยในการตัดสินใจ
         4.ระบบสารสนเทศของทั้งองค์การ (Enterpriseinformation systems)หมายถึงระบบสารสนเทศของหน่วยงานที่มีการเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่ ทั้งหมดภายในองค์การ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือองค์การนั้นมีระบบสารสนเทศที่เชื่อมโยงทั้งองค์การ
         5.ระบบสารสนเทศแบบรายงานเพื่อการจัดการ (Management Reporting Systems)เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยในการทำรายงานตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ และช่วยในการตัดสินใจที่มีลักษณะโครงสร้างชัดเจนและเป็นเรื่องที่ทราบล่วง หน้า

2. ในการจ้างนาย Willium Lawe ซึ่งเป็นผู้ที่มีความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) มาเป็น CEO ของบริษัท ท่านคิดว่ามีประโยชน์ต่อบริษัทอย่างไร
ตอบ
1.ทำให้การบริหารจัดการของผู้บริหารมีความสะดวกรวดเร็วและมีคุณภาพ
         2. ด้านการวางแผน สามารถนำสารสนเทศไปใช้ในการวางแผนเกี่ยวกับการจัดการองค์การ การบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ กระบวนการผลิตสินค้า การตลาด เป็นต้น.
         3. ด้านการตัดสินใจ สามารถนำสารสนเทศไปใช้ในการตัดสินใจเพื่อเลือกแนวทางหรือทางเลือกที่มีปัญหา น้อยที่สุดในการแก้ปัญหาต่าง ๆ การมีสารสนเทศที่สมบูรณ์ ทันสมัย และครบถ้วนจะช่วยให้การตัดสินใจถูกต้อง รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
         4. ด้านการดำเนินงาน สามารถนำสารสนเทศไปใช้ในการดำเนินงานต่าง ๆ เช่น ใช้เพื่อควบคุมหรือติดตามผลการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับกฎระเบียบ วัตถุประสงค์ และเป้าหมายขององค์การ

3. การปรับเปลี่ยนหน้าที่ของนักวิเคราะห์และโปรแกรมเมอร์มีประโยชน์ต่อบริษัท Gulfstream อย่างไร
ตอบ
ช่วย ให้มีนักวิเคราะห์และโปรแกรมเมอร์ที่เป็นคนรุ่นใหม่เข้ามาช่วยพัฒนาเพื่อให้ สินค้าของบริษัทเป็นที่ถูกใจของลูกค้ามากขึ้น และอาจจะใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเจาะกลุ่มลูกค้าใหม่ได้มากขึ้นกว่าเดิม เพราะในสมัยนี้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทในทุกๆองค์การจึงจำเป็นต้อง พัฒนาให้ทันกับเทคโนโลยีเพื่อที่บริษัทจะได้มีกำไรมากขึ้น

4. โครงสร้างส่วนใดของบริษัทที่ดูเหมือนว่าจะยังคงเดิมอยู่ ถึงแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่ง CEO ของบริษัท และระบบการบริหารงานใดที่ผู้บริหารงานใหม่ได้นำมาใช้เพื่อพัฒนาบริษัท และถ้ามีการปรับเปลี่ยนตำแหน่งเกิดขึ้นภายในหน่วยงานควรจะจัดการปรับเปลี่ยน อย่างไร ท่านคิดว่าระบบที่นาย Lawe นำมาใช้จะยังคงเป็นระบบรวมอำนาจอยู่ต่อไปหรือไม่ อย่างไร จงให้ข้อแนะนำเกี่ยวกับระบบการกระจายอำนาจ (Decentralized)
ตอบ
- ผู้บริหารชั้นสูง และบริษัทได้นำ ระบบ MIS มาใช้ในการพัฒนาบริษัทเพื่อให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นไปอีก
         - ควร มีการรับสมัครคนรุ่นใหม่ที่ความเชี่ยวชาญในสาขานั้นๆเพื่อให้ได้คนที่เหมาะ สมกับตำแหน่งงานเพื่อที่จะพัฒนาบริษัทให้ก้าวไกลยิ่งขึ้นไปอีกและสามารถทำ ให้บริษัทมีกำไรเพิ่มขึ้น
         -ไม่ ใช่ระบบรวมอำนาจ แต่จะเป็นการกระจายอำนาจซึ่งเป็นการแบ่งงานกันทำตามหน้าที่ งานของใครก็รับผิดชอบของใครของมันแต่จะมีการประสานงานกันในสายงานที่คล้ายๆ กัน ทำให้พนักงานความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันและทำงานไปอย่างมีประสิทธิภาพซึ่ง จะช่วยบริษัทได้ทำให้บริษัทพัฒนาก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว และระบบนี้จะทำให้พนักงานมีความรับผิดชอบมากขึ้น เพราะจะต้องทำงานตามที่ได้รับมอบหมายให้เสร็จทันเวลา

5. อะไรที่เป็นอิทธิพลที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงภายในแผนกสารสนเทศเพื่อการ จัดการ (MIS) ของบริษัท Gulfstream Aerospace และจากอิทธิผลดังกล่าวจะทำให้ลักษณะการทำงานภายในหน่วยงานและระหว่างหน่วย งานมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง
ตอบ
 - ระบบ สารสนเทศเพื่อการบริหาร (Management Information System) หรือ MIS คือระบบที่ให้สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะรวมทั้ง สารสนเทศภายในและภายนอก สารสนเทศที่เกี่ยวพันกับองค์กรทั้งในอดีตและปัจจุบัน รวมทั้งสิ่งที่คาดว่าจะเป็นในอนาคต นอกจากนี้ระบบเอ็มไอเอสจะต้อง ให้สารสนเทศ ในช่วงเวลาที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจในการวางแผนการควบคุม และการปฏิบัติการขององค์กรได้อย่างถูกต้อง
           แม้ว่าผู้บริหารที่จะได้รับประโยชน์จาก ระบบเอ็มไอเอสสูงสุดคือผู้บริหารระดับกลาง แต่โดยพื้นฐานของระบบเอ็มไอเอสแล้ว จะเป็นระบบที่ สามารถสนับสนุนข้อมูลให้ ผู้บริหารทั้งสามระดับ คือทั้งผู้บริหารระดับต้น ผู้บริหารระดับกลาง และผู้บริหารระดับสูง โดยระบบเอ็มไอเอสจะให้รายงาน ที่สรุปสารสนเทศซึ่งรวบรวมจากฐานข้อมูลทั้งหมดของบริษัท จุดประสงค์ ของรายงานจะเน้นให้ผู้บริหารสามารถมองเห็นแนวโน้ม และภาพรวม ขององค์กรในปัจจุบัน รวมทั้งสามารถควบคุมและตรวจสอบงานของระดับปฏิบัติการด้วย อย่างไรก็ดี ขอบเขตของรายงาน จะขึ้นอยู่กับ ลักษณะของสารสนเทศ และจุดประสงค์การใช้งาน โดยอาจมีรายงานที่ออกทุกคาบระยะเวลา (เช่น งบกำไรขาดทุนหรืองบดุล) รายงานตามความต้องการ หรือรายงานตามสภาวการณ์หรือเหตุผิดปกติ
           ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ Management Information System : MIS เป็นระบบการจัดหาคนหรือข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กับข้อมูลเพื่อ การดำเนินงานขององค์การการจัดโครงสร้างของสารสนเทศโดยแบ่งตามลำดับ

กรณีศึกษา 4 ระบบ MIS ที่ท้าทายสำหรับธุรกิจธนาคาร

               ปัจจุบัน นี้รูปแบบธุรกิจได้มีการเปลี่ยนแปลง โดยมีการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศมาใช้ในการจัดการด้านธุรกิจ จากแนวคิดนี้กลุ่มธนาคารก็ได้เพิ่มความตื่นตัวที่จะปรับตัวให้เข้าสู่ สภาวการณ์ใหม่เพื่อการแข่งขันเช่นกัน ระบบการบริหารและการจัดการโดยใช้สื่อเริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น รวมทั้งการใช้อุปกรณ์เครื่องมือติดต่อสื่อสารระหว่างธนาคารก็มีความจำเป็น สำหรับธนาคารด้วย
               ธนาคารชั้นนำส่วนใหญ่ เช่น ซิตี้แบงค์ ธนาคารชาติ ได้ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวโดยได้ทุ่มการลงทุนเป็นจำนวนมาก แต่หลายคนรู้สึกว่าธนาคารส่วนใหญ่ยังคงใช้เทคโนโลยีแบบดั้งเดิมและไม่มีการ เตรียมความพร้อมที่จะจัดการด้านตลาดสมัยใหม่ และยังมีปัญหาที่น่าวิตกอยู่หลายประการซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
      1. ธนาคารส่วนใหญ่มีการลงทุนในเทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสม เช่น ลงทุนในกระบวนการตรวจสอบอัตโนมัติ และระบบบัญชีในขณะที่ระบบการดำเนินงานมีความจำเป็นและถือเป็นข้อดีด้านผล ประโยชน์ในการแข่งขัน
      2. ได้มีการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์เกือบทั้งหมดในระบบธนาคารทั้งในส่วนกลางและส่วน ภูมิภาค เช่น ธนาคารหลายแห่งได้สร้างระบบการกระจายศูนย์และมีเครือข่ายเชื่อมโยงไปยังสาขา ย่อย รวมถึงการเปลี่ยนแปลงด้านการลงทุนจำนวนมาก ดังนั้นการนำระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสารมาใช้จึงนำไปสู่การแลก เปลี่ยนข้อมูลและเอภาพในการบริหารงานมากขึ้น อย่างไรก็ตามธนาคารที่มีระบบใหญ่อยู่แล้วก็ยังต้องพัฒนาตัวเองต่อไปอีกเพื่อ การแข่งขันที่ไม่สิ้นสุด
      3. ธนาคารท้องถิ่นซึ่งเคยมีอัตราการหมุนเวียนด้านการเงินดีที่สุด ปัจจุบันนี้ต้องต่อสู้แข่งขันกับธนาคารใหญ่ ๆ ที่อยู่ในเมือง ยิ่งไปกว่านั้นยังมีการรวมหุ้นของธนาคารเพิ่มมากขึ้น เพื่อต้องการที่จะแข่งขันกับต่างประเทศ โดยใช้ระบบเครือข่ายสื่อสารทางไกล ซึ่งจะสามารถช่วยลดความยุ่งยากในการลงทุนได้
      4. ธนาคารมีการทำธุรกรรมและให้บริการลูกค้าผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้บัตรเดบิต (Debit) หรือสมาร์ทการ์ด (Smart card) โดยสามารถตรวจสอบการใช้บัตรเหล่านี้ได้ในร้านต่าง ๆ หรือใช้กับอินเตอร์เน็ต (Internet) ที่บ้านก็ได้รวมทั้งสามารถตรวจสอบการใช้เงินได้ ซึ่งการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ได้เพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี นอกจากนี้ธุรกรรมด้านเช็ค (Cheque) ได้เปลี่ยนรูปแบบไปจากเดิมโดยสามารถทำการสแกนเช็คต่างๆ เข้าไว้เป็นฐานข้อมูลภาพลักษณ์ (Image database) ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในด้านการใช้กระดาษลงได้มาก

ปัญหาและข้ออภิปราย


1. การนำเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) มาใช้จะมีผลกระทบต่อธนาคารในลักษณะใดบ้าง ให้อธิบายอย่างน้อย 3 ประเด็น
ตอบ
 - ผลกระทบในด้านการทำงานและประสิทธิภาพเนื่องด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ มีผลต่อการทำงานของคนในองค์กรและลูกค้าธนาคารเกือบทุกระดับ เริ่มตั้งแต่การลงเวลาการทำงานแต่เดิมอาจใช้การเซ็นต์ชื่อแต่ปัจจุบันอาจ ปรับเปลี่ยนมาเป็นรูปแบบการตอกบัตร รูดบัตรลงเวลา การทำงานแต่เดิมทำงานกับแอกสารเป็นหลักแต่ปัจจุบัน เอกสารถูกลดบทบาทลง คอมพิวเตอร์ถูกนำมาแทนที่ ประสิทธิภาพและความพึงพอใจของลูกค้าก็มากขึ้น เริ่มตั้งแต่การต่อคิว แต่เดิมต้องไปยืนรอไม่รู้นานแค่ไหน ปัจจุบันมาถึงธนาคารกดบัตรคิวสามารถตรวจสอบได้ว่าอีกกี่คิวจะถึงตนเอง ในระหว่างนั้นก็นั่งรออ่านหนังสือพิมพ์ไปก็ได้ การทำ ธุรกรรมก็สามารถทำได้อย่างสะดวกรวดเร็ว แม้แต่การชำระค่าสาธารณูปโภคหรือบริการต่าง ๆ ก็สามารถทำได้ที่ธนาคารเนื่องด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
            อย่างไรก็ตามธนาคารจำเป็นต้องลงทุนในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศนี้ไม่มีสิ้นสุด เนื่องจากมีการแข่งขันกันสูง ผู้ที่พัฒนาเทคโนโลยีสรสนเทศได้รวดเร็ว ตรงใจลูกค้าจะได้ครองส่วนแบ่งของตลาดก่อน ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบอย่างมาก แต่เดิมนั้นการถือ ใครสักคนจะเดินไปธนาคาร A เพื่อโอนเงินไปธนาคาร Z ทั้งๆที่ตัวเองไม่มีบัญชีธนาคารAเลย นั้นเป็นไปไม่ได้ แต่ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ไม่ว่าจะทำธุรกรกรรมอะไรก็ทำได้ กระนั้นเองหากมองในแง่ของการจ้างงานแล้วในอนาคต เมื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทมากถึงระดับหนึ่ง ผู้ทำงานระดับปฏิบัติการจะน้อยลง ใกล้เคียงกับจำนวนผู้ดูแลควบคุม

2. การทำธุรกรรมเกี่ยวกับเช็ค (Cheque) เช่น ใช้ระบบการประมวลผลภาพลักษณ์ (Image database) นั้นท่านคิดว่าวิธีการอื่นอีกหรือไม่ที่มีผลดีสำหรับใช้ในการทำธุรกรรม (Transaction) ด้านเช็ค
ตอบ
 - การทำธุรกรรมทางเช็คนั้นเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ยากจากรูปแบบเดิม เนื่อง จากการจ่ายเงินเป็นเช็คนั้นผู้จ่ายสามารถระบุวันจ่ายล่วงหน้าได้หลายวันหรือ หลายเดือนก็ได้ ณ วันที่จ่ายเช็คผู้จ่ายอาจไม่มีเงินแม้แต่บาทเดียว แต่เป็นการค้ำประกันผู้รับว่าเมื่อถึงเวลาจะจ่ายให้แน่
การทำ ธุรกรรมผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบันจะเป็นการหักเงินในลักษณะทันที ที่เรียกว่า Real Time คือหากไปชำระหนี้ที่ใดก็ตามระบบจะตรวจสอบเงินที่มีอยู่จากบัญชีเงินฝาก หรือบัญชีเครดิตที่เรามีอยู่ หากจำนวนเงินไม่พอก็จะปฏิเสธ
            หากจะมีวิธีที่เหมาะสมกับการทำธุกรรมเช็คในอนาคต น่าจะเป็นการใช้วิธีรวมฐานข้อมูลทางธนาคารเข้ากับบัตรประจำตัวประชาชน Smart Card กล่าวคือ ผู้รับเงินจะต้องมีเครื่องรับรหัสอนุมัติจากบัตรประจำตัวประชาชนและผู้ถือ บัตร ซึ่งเครื่องนี้สามารถระบุวันที่จะได้รับเงิน หากไม่มีเงินโอนเข้าในวันที่กำหนด ผู้รับสามารถถ่ายโอนข้อมูลจากเครื่องนี้ไปเป็นหลักฐานแจ้งตำรวจได้ ลักษณะคล้ายเครื่องรูดบัตรเครดิตแต่ไม่จำเป็นต้องออนไลน์ สามารถพกไปมาได้สะดวก

3. ท่านคิดว่าการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์มีข้อดีอย่างไร มีความน่าเชื่อถือได้มากน้อยแค่ไหน และมีผลกระทบต่อระบบธนาคารในปัจจุบันอย่างไร
ตอบ
การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์มีข้อดี หลายประการ ได้แก่
          3.1 สะดวกอยู่ที่ไหนก็โอนได้ (ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ผ่านมือถือ ผ่านโทรศัพท์บ้าน)
          3.2 รวดเร็วประหยัดเวลาเพราะไม่ต้องรอคิว ไม่ต้องขับรถไป
          3.3 การโอนเงินหรือชำระเงินบางอย่างถูกกว่า การทำผ่านทางเคาเตอร์ธนาคาร
          3.4 ทำได้บ่อยเท่าที่ต้องการในแต่ละวัน(แต่ไม่เกินวงเงินที่ธนาคารกำหนด)
         ความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับปานกลาง-สูง ทั้งนี้มิได้ขึ้นอยู่กับระบบธนาคารเพียงฝ่ายเดียว บ่อยครั้งที่พบว่าเกิดจากผู้ใช้เองไม่มีความเชี่ยวชาญหรือชำนาญด้าน คอมพิวเตอร์ทำให้สามารถถูก หลอกหลวง (Phishing) ดักจับรหัสผ่านโดย โปรแกรม หรือไวรัสอินเทอร์เน็ต รวมทั้งกลโกงต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ
         ผลกระทบที่เกิดขึ้นแล้วอย่างเห็นได้ชัดคือ ธนาคารต้องลงทุนเพิ่มในการสร้างระบบความปลอดภัยในการทำธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ ดังจะเห็นได้จากบัตรเครดิตที่ออกใหม่ในปัจจุบันนั้นจะเป็นบัตรแบบมีชิปในตัว แทนระบบแถบแม่เหล็กแบบเดิม หากธนาคารไม่เพิ่มระดับความปลอดภัยหรือมาตรการ ใดแล้ว ในอนาคตก็จะไม่มีลูกค้าคนใดกล้าเข้ามาใช้งานการทำธุรกรรมผ่านระบบ อิเล็กทรอนิกส์ของธนาคารนั้น เพราะไม่มีความน่าเชื่อถือ และจะเป็นการสูญเสียโอกาสที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เนื่องจากลูกค้าได้ไว้วางใจในระบบของธนาคารอื่นแล้ว

4. เมื่อท่านอยู่ในโลกยุคโลกาภิวัตน์ที่มีการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ อย่างรวดเร็วและรุนแรงนั้น ท่านจะใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างไร เพื่อการแข่งขันกับธนาคารอื่นๆ ในระดับโลก
ตอบ
พัฒนา เทคโนโลยีสารสนเทศใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง พัฒนาบุคลากรที่สามารถใช้สารสนเทศเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลุกค้าได้สูง สุด ในยุคข้างหน้าเป็นยุคของการใช้สารสนเทศอย่างเต็มที่ เชื่อว่าต่อไปธนาคารที่สร้างใหม่อาจมีขนาดเท่ากับร้านสะดวกซื้อในปัจจุบัน เท่านั้น เพราะธนาคารจะมุ่งเน้นไปที่การสร้างธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถทำธุรกรรม ได้เหมือนธนาคารจริงทุกอย่าง ที่ไม่ใช่เพียงแค่การเงินอย่างเดียวรวมถึง การขอสินเชื่อ การเปิดบัญชีใหม่ต้องสามารถทำได้ผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ การขอคำปรึกษาด้าน การลงทุน การเงิน เป็นต้น กอปรที่การสร้างธนาคารแห่งใหม่ ๆ ในอนาคตจะทำได้ยากขึ้นเนื่องจากข้อจำกัดด้านเงินลงทุนที่สูง ที่ดินที่ทำเลเหมาะสมกับการสร้างธนาคารจะหาได้ยากขึ้น ทำให้ธนาคารต้องลดต้น ทุนการประกอบการให้ได้มากที่สุด เพื่อผลกำไร แต่ยังคงไว้ซึ่งความพึงพอใจของลูกค้า

กรณีศึกษา 5 เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกในช่วงปี ค.ศ. 2000-2009

             American President Companies (APC) เป็นบริษัทที่มีสาขาอยู่ทั่วโลก และเป็นหนึ่งในหลายๆ บริษัทที่มีความต้องการติดตั้งระบบการติดต่อสื่อสารเชื่อมโยงเครือข่ายทั่ว โลกโดยใช้การสื่อสารผ่านดาวเทียมเชื่อมต่อภาคพื้นดิน เช่น เชื่อมจากนิวยอร์กกับประเทศคูเวต ซึ่งวิธีนี้จะช่วยลดระยะการเดินทางของข้อมูลข่าวสารจากทวีปอเมริกาเหนือกับ ทวีปเอเชียได้เป็นอย่างดี ผู้ใช้บริการต้องรู้สถานที่และตำแหน่งเส้นทางที่จะติดต่อใช้บริการจาก เครื่องคอมพิวเตอร์ของ APC ได้ถึง 800 เลขหมายของรหัสท้องที่ (Area code)
            บริษัท ที่อยู่ในเครือสถาบันการเงินชั้นแนวหน้าที่ประสบผลสำเร็จด้านการบริหารการ ซื้อหรือการขาย พบว่ามีการสั่งซื้อมาจากทั่วทุกมุมโลกและการตัดสินใจซื้อบ่อยครั้งที่ดู ข้อมูลจากระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างเช่น บริษัท Merrill Lynch ได้มีการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ค้าหุ้นในแอตแลนตา หรือดีทรอยต์ ซื้อขายหุ้นกับต่างประเทศได้โดยตรง แทนที่จะต้องผ่านตัวกลางในนิวยอร์ก บริษัท Merrill มีสมาชิกจำนวนมากเมื่อเทียบกับหลาย ๆ บริษัทที่นำระบบการสื่อสารทางไกลมาใช้อย่างจริงจัง จนกระทั่งบริษัทมีรายได้เพิ่มขึ้นเกือบ 500 ล้านดอลลาร์
            สถานการณ์ โลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วเป็นเหตุผลหนึ่งที่บริษัทจำวนมากต้องการที่ จะติดตั้งระบบการเชื่อมโยงเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ตัวอย่างเช่น เมื่อค่าเงินดอลลาร์ลดลงต่ำกว่าระดับปกติ บริษัท Westinghouse ได้ทำการส่งข่าวสารทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยติดต่อจากอังกฤษไปยังสหรัฐ อเมริกา ซึ่งวิธีนี้ได้ช่วยให้บริษัททั้งหลายไม่ต้องประสบปัญหาในด้านค่าใช้จ่ายใน การติดต่อสื่อสาร
            เมื่อมีการจัดตั้งระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แล้ว บริษัทต่างๆ จะมีทางเลือกมากมาย องค์กรหลายแห่งต้องการติดตั้งระบบเครือข่ายชนิดที่ใช้เป็นเครือข่ายส่วนตัว ซึ่งวิธีการติดตั้งอย่างหนึ่งก็คือ ต้องดำเนินการเช่าสายจากบริษัทที่ได้ติดตั้งระบบเชื่อมโยงเครือข่ายอินเทอร์ เน็ตเรียบร้อยแล้วและพร้อมที่จะให้บริการต่อลูกค้า ในปัจจุบันมีการเชื่อมโยงเครือข่ายไปทั่วโลกเป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และเครือข่ายดังกล่าวส่วนใหญ่ได้ดำเนินการโดยบริษัทที่มีชื่อเสียง เช่น AT&T, U.S. Sprint, Nippon, British Telecom และบริษัทคอมพิวเตอร์รายใหญ่ เช่น IBM, DEC และ Unisys เป็นต้น กรณีตัวอย่างของบริษัท IBM ได้ขยายเครือข่ายออกไปมากกว่า 150 ประเทศ และมีพนักงานถึง 4 แสนคน
            บริษัทจำนวนมากที่ต้องการติดตั้งระบบเครือ ข่ายและเชื่อมโยงเครือข่ายทั่วโลกเหล่านั้นมักเผชิญกับอุปสรรคต่างๆ ได้แก่ (1) ความรู้เกี่ยวกับระบบเครือข่าย (2) กฎระเบียบสำหรับการสื่อสารระหว่างประเทศซึ่งมีข้อจำกัดมาก และเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เช่น วิทยุสื่อสารถูกห้ามใช้ในหลายแห่งในยุโรป ชาวยุโรปจำนวนมากต้องการเครื่องมือสื่อสารที่ถูกต้องและเป็นที่ยอมรับก่อน ที่จะถูกนำมาใช้ นอกจากนี้ขั้นตอนการติดตั้งระบบการสื่อสารบางอย่างต้องใช้เวลานานหลายเดือน หรืออาจหลายปี ประเทศต่าง ๆ จึงพยายามค้นหากลยุทธ์ด้านการสื่อสารแบบใหม่ ๆ มาใช้อย่างไรก็ตาม เขายังต้องการผลประโยชน์ที่จะได้จากการลงทุนของชาวต่างชาติ (3) การสื่อสารทางไกลจะได้รับผลกระทบโดยตรงจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนั้นเครื่องมือสื่อสารที่นำมาใช้ในปัจจุบันจะล้าสมัยในอีก 3-4 ปีข้างหน้า
            นับว่าเป็นเรื่องที่ยากมากทีเดียวที่จะหาบุคลากรที่มี ความรู้ความชำนาญมากๆ ในด้านการสื่อสารข้อมูลประกอบกับองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมีการ เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วมาก ดังนั้นจึงจำเป็นต้องติดตามอยู่ตลอดอย่างต่อเนื่องเมื่อพิจารณาถึงแนวโน้มของการใช้อินเทอร์เน็ตในอนาคตแล้ว มีตัวแปรสำคัญที่เกี่ยวข้องด้านเทคโนโลยีจำเป็นต้องนำมาพิจารณา กล่าวคือ
                (1) ความต้องการผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี
                (2) การค้นพบที่สำคัญหรือการพัฒนาด้านเทคโนโลยี
            แนวทางที่ผู้บริโภคและฝ่ายบริหารจะตอบสนองต่อระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ตซึ่งได้สะท้อนให้เห็นรูปแบบของความต้องการใหม่ ๆ นั้นมี

ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการใช้อินเทอร์เน็ต 3 ประการ คือ
                1. ความจำเป็นขององค์กรธุรกิจ ได้แก่ เพื่อความประหยัด มีบริการที่ดีกว่า มีการสั่งซื้อและการโฆษณาที่ทันสมัย และการได้รับข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็ว
                2. บทบาทหน้าที่และศักยภาพในการทำงาน กล่าวคือ สามารกระจายข้อมูลไปทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว มีความถูกต้องและแม่นยำ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ขององค์กรว่าจะใช้ประโยชน์ในข้อนี้หรือไม่
                3. ความสะดวกของผู้ซื้อเทคโนโลยี หรือคนที่ต้องการใช้อินเทอร์เน็ตซึ่งต้องการความง่ายในการใช้งาน (User friendly) ถ้าลูกค้าพบว่าผลิตภัณฑ์และเอกสารประกอบการใช้งานมีความยุ่งยากก็จะไม่เป็นที่นิยมใช้
            นับวันอินเทอร์เน็ตจะยิ่งเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสั่งซื้อสินค้าทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การดูภาพยนตร์ ฟังเพลง หรือแม้แต่การสนทนากันก็ใช้อินเทอร์เน็ต สิ่งเหล่านี้เป็นการพัฒนาวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนให้มีชีวิตที่เป็นสุข มีความสะดวกสบาย และรวดเร็วขึ้น

ปัญหาและข้ออภิปราย
1. ให้อธิบายสั้น ๆเกี่ยวกับปัญหาอุปสรรคของบริษัทที่ใช้ระบบเชื่อมโยงเครือข่ายทั่วโลก
ตอบ
บริษัทที่ต้องการติดตั้งระบบเชื่อมโยงเครือข่ายทั่วโลก มักเผชิญกับปัญหาอุปสรรค ดังนี้
         1. ความรู้เกี่ยวกับระบบเครือข่ายมีไม่มากพอ
         2. กฎระเบียบสำหรับการสื่อสารระหว่างประเทศมีข้อจำกัดมาก และเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
         3. เครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงเป็นเรื่อง ยากที่จะหาบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญมาก ๆ ในด้านการสื่อสาร

2. ให้รวบรวมปัญหาอุปสรรคที่ประเทศต่าง ๆ ต้องหากลยุทธ์การสื่อสารแบบใหม่ๆ มาใช้
ตอบ 2.1 ปัญหาอุปสรรค

               - บริการโทรคมนาคมและรายการติดตั้งที่ไม่สอดคล้องกันและเข้ากันไม่ได้
               - รูปแบบการติดต่อสื่อสาร และมาตรฐานของฮาร์ดแวร์ที่ไม่สอดคล้องกันและเข้ากันไม่ได้
               - ผู้ให้บริการด้านสื่อสารที่อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลมีอุปกรณ์และการให้บริการที่จำกัด
               - ความแตกต่างอย่างมากในเรื่องของกฎหมาย หรือกฎระเบียบโทรคมนาคม และการเก็บภาษีระหว่างประเทศ
               - ความสัมพันธ์ที่น่าสับสนระหว่างรัฐบาล และผู้ห็บริหารหรือผู้ขายอุปกรณืโทรคมนาคม
         2.2 กลยุทธ์
              1. กลยุทธ์โดยใช้ต้นทุนต่ำ คือ การผลิตและการให้บริการด้วยราคาต่ำที่สุด
              2. กลยุทธ์สร้างความแตกต่าง คือ การสร้างสินค้าที่โดดเด่นแตกต่างจากคู่แข่งขัน หรือมีการพัฒนาใหม่ที่มีลักษณะเฉพาะที่คู่แข่งขันไม่สามารถลอกเลียนแบบได้
              3. กลยุทธ์ในการเน้นกลุ่มเป้าหมาย คือ เลือกตลาดที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจงกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งยังเป็นช่องว่างทางตลาด โดยอาจผสมผสานกับกลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง เรียกว่า Focused Differentiation

3. เหตุใดท่านจึงคาดว่าองค์กรหลาย ๆ แห่งที่ขยายกิจการเข้าไปในยุโรปจะถูกทาบทามและติดต่อโดยบริษัทที่มีระบบ เครือข่ายการสื่อสารหลักอยู่แล้วในประเทศนั้น ๆ บริษัทที่รับติดตั้งระบบเครือข่ายการสื่อสารจะสามารถช่วยองค์กรของท่านในการ พัฒนาเครือข่ายได้อย่างไร
ตอบ
1. สามารถใช้ศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมขององค์กรได้
         2. พัฒนาองค์กรให้ทัดเทียมและทันสมัยตามความเจริญของหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก

4. ถ้าท่านเป็นผู้บริหารของบริษัท IBM ท่านจะมีวิธีที่จะตั้งข้อจำกัดในการใช้ข้อมูลภายในองค์กรอย่างไรนอกจากนั้น ท่านจะมีนโยบายในการสื่อสารระหว่างประเทศชนิดใดบ้างที่ควรจัดสรรให้ผู้ บริโภคได้ใช้ฟรีโดยไม่คิดมูลค่าใด ๆ
ตอบ
การจัดตั้งข้อจำกัดข้อมูลในองค์กร
         - ตั้งวัตถุประสงค์การมีองค์กรกำกับดูแล
         - แบ่งแยกหน้าที่ตามนโยบายจากการกำหนดดูแล
         - แต่งตั้งกลุ่มตรวจสอบ มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้ใช้บริการ
นโยบายในการสื่อสารระหว่างประเทศที่จัดสรรให้ผู้บริโภคได้ใช้ฟรีโดยไม่คิดมูลค่า
      1. เครือข่ายภายใน หรือ แลน (Local Area Network : LAN) เป็นเครื่อข่ายที่ใช้ในการเชื่อมโยงกันในพื้นที่ใกล้เคียงกัน เช่น ภายในห้อง หรือภายในอาคารเดียวกัน
      2. เครือข่ายวงกว้าง หรือ แวน (Wide Area Network : WAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการเชื่อมโยงกันในระยะทางที่ห่างไกล อาจจะเป็น กิโลเมตร หรือ หลาย ๆ กิโลเมตร
      3. เครือข่ายไร้สาย หรือ ระบบสัญญาณ Wireless เป็นเครือข่ายแบบไร้สาย (ไม่จำเป็นต้องเดินสายเคเบิ้ล) เหมาะสำหรับการติดตั้งในสถานที่ที่ไม่สะดวก ในการเดินสาย หรือในสถานที่ที่ต้องการความสวยงาม เรียบร้อย และเป็นระเบียบ

กรณีศึกษา 6 การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (EDI): การแลกเปลี่ยนแปลงท่าทีในการประกอบธุรกิจ

             บริษัท ชั้นนำรายใหญ่ 3 บริษัท ได้แก่ บริษัท General Motor, บริษัท Commins Emgine และบริษัท Wal-Mart ได้กล่าวกับตัวแทนจำหน่ายว่า “เราจะก้าวไปข้างหน้ากับระบบ EDI” ผู้จัดการด้านการจัดจำหน่ายของบริษัท Commins Engines ระบุว่า “เราคงจะไม่มีเหตุผลใดที่จะอธิบายถ้าไม่ก้าวไปกับระบบ EDI” และบริษัท Wal-Mart ได้มีนโยบายที่ชัดเจนและหนักแน่นว่า ถ้าผู้ขายปัจจัยการผลิต (Supplier) รายใดปฏิเสธการเชื่อมต่อกับระบบ EDI ผู้ขายปัจจัยการผลิตรายนั้นจะถูกตัดออกไป
ระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange (EDI)) เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์และเป็นวิธีการสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่สามารถให้การแลกเปลี่ยนเอกสารข้อมูลด้านการค้าขายจริง ๆ เช่น ใบสั่งซื้อสินค้า ใบส่งของ ใบรายการส่งสินค้า และธุรกรรม (Transaction) ต่าง ๆ สามารถส่งผ่านระหว่างระบบคอมพิวเตอร์ได้โดยตรง เมื่อไม่นานมานี้ระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (EDI) ได้กลายเป็นสื่อเชื่อมระหว่างองค์กรภายในกับผู้ขายปัจจับการผลิตรายต่าง ๆ รองจากประธานบริษัท IBM กล่าวว่า “การดำเนินธุรกิจโดยปราศจากระบบ EDI จะเป็นเสมือนกับการดำเนินธุรกิจที่ไร้โทรศัพท์” Arthur D.Little ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของบริษัทได้ทำการศึกษาในปี ค.ศ.1980 เกี่ยวกับอุตสาหกรรมร้านขายของชำ และเขาได้กระตุ้นให้เห็นถึงประโยชน์ของระบบ EDI อย่างแพร่หลาย จนกระทั่งอาจกล่าวได้ว่า “ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ประชาชนได้ค้นพบแล้วว่า ระบบ EDI เป็นสิ่งสำคัญที่คนจะต้องเรียนรู้เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกันได้ดี”
             ก่อนปี ค.ศ.1980 มีเพียงไม่กี่บริษัทที่ทำงานด้านระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (EDI) อย่างจริงจัง หนึ่งในบรรดาบริษัทเหล่านั้น คือ บริษัท Yellow Freight ในเมือง Kansas ซึ่งได้พยายามขายแนวความคิดเกี่ยวกับระบบ EDI เป็นเวลา 10 ปีมาแล้ว ผู้จัดการด้านระบบสารสนเทศ (MIS) ได้กล่าวไว้ ณ บริษัท Yellow Freight นี้ว่า “ประชาชนได้รู้จัก EDI แล้ว ในฐานะผู้ทำหน้าที่ด้านเทคนิค ซึ่งระบบ EDI เป็นสิ่งที่มีความสำคัญแตกต่างจากสิ่งที่พวกเขาได้ทำกันมาในอดีต” ดังนั้นพวกเขาจึงเกิดความลังเลใจที่จะทุ่มเทกับสิ่งที่อาจจะเป็นแค่ความฝัน ที่ส่งไปตามสาย แต่ว่าขณะที่ระบบ EDI เริ่มแพร่ขยายไปทำให้เกิดประโยชน์ในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะการประหยัดค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนผู้สังเกตการณ์ด้านอุตสาหกรรม หลายคนรู้สึกว่าเป็นเพราะการวิจัยที่ปรึกษา Authut D.Little (ADL) ที่ผลักดันให้ระบบ EDI แพร่หลาย บทสรุปของการวิจัยครั้งนี้คือร้านขายของชำทั่วไปจะประหยัดเงินถึงหนึ่งในสาม ส่วนของพันล้านดอลลาร์ต่อปีได้ ถ้าเพียงครึ่งหนึ่งของร้านชำดังกล่าวหันมาใช้ระบบ EDI ผลการวิจัยครั้งนี้มีผลทำให้ประชาชนให้ความสนใจกันอย่างกว้างขวาง
             เนื่องจากระบบ EDI สามารถประหยัดค่าใช่จ่ายได้เป็นจำนวนมากไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายในงานหนังสือ ระยะเวลาจัดการที่สั้นลง และความผิดพลาดในการป้อนข้อมูลก็ลดน้อยลงด้วย อย่างไรก็ดีตัวแทนจำหน่ายที่ใช้ระบบ EDI นั้นยังมีความมุ่งหวังให้ได้รับใบสั่งซื้อมากยิ่งขึ้น เพราะมีความสะดวกและรวดเร็ว บริษัทที่ใช้ระบบ EDI มักจะได้เปรียบด้านการแข่งขัน เนื่องจากปัจจัยหลัก คือ การส่งผลิตภัณฑ์ที่รวดเร็วนั่นเอง ผู้จัดการฝ่ายผลิตในอุตสาหกรรมผู้หนึ่งได้กล่าวว่า “ระบบ EDI ไม่ใช่สิ่งที่ต้องรอให้ถึงเวลาแล้วค่อยนำมาใช้ แต่ EDI เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีและต้องใช้”
             อย่างไรก็ตามได้มีหลายบริษัทที่เร่งนำระบบ EDI มาใช้ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องง่ายนักที่จะทำเช่นนั้น เพราะว่าการพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับ EDI เพื่อการทำธุรกรรมต่าง ๆ นั้นต้องใช้เวลานาน จากการศึกษาพบว่า ซอฟต์แวร์สำหรับงานชิ้นหนึ่งมีราคาถึง 100,000 ดอลลาร์ ซึ่งถือว่าเป็นราคาที่แพงมากทั้งที่เป็นเพียงโปรแกรมเพื่อใช้งานในเชิงการ ป้อนข้อมูล และประมวลผลการซื้อ-ขายสินค้าเท่านั้น
             หลายบริษัทร่วมทั้งบริษัท Wal-Mart ไม่มีความหนักใจกับการลงทุนด้านระบบ EDI เนื่องจาก บริษัท Wal-Mart ได้พัฒนาเครือข่าย EDI ที่แพงมากที่สุดแห่งหนึ่งในอุตสาหกรรมร้านค้าปลีก โดยเฉพาะในปี ค.ศ.1992 Wal-Mart ได้บอกตัวแทนจำหน่ายที่ยังลังเลใจว่าจะเชื่อมต่อกับระบบ EDI จะมีผลต่อธุรกิจเพราะจะช่วยให้ต้นทุนกระบาวนการสั่งสินค้าของบริษัทลดลง และยังช่วยให้บริษัทรักษากลยุทธ์ด้านต้นทุนการผลิตไว้ได้ด้วย
             ในระหว่างช่วงปี ค.ศ.1990-1999 ระบบ EDI ได้รับการยอมรับและเป็นเครื่องมือสำคัญในการทำธุรกิจมาตรฐานการสื่อสาร ข้อมูลที่ชื่อว่า x.12 เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดในสหรัฐอเมริกา และจัดเป็นมาตรฐานประเภท EDIFACT ซึ่งได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในทวีปยุโรป มาตรฐานดังกล่าวทำให้การใช้งานระบบ EDI ง่ายยิ่งขึ้น เหมาะสำหรับบริษัทที่จะพัฒนาเครือข่าย EDI กับตัวแทนจำหน่าย นอกจากนี้ระบบ EDI ยังได้รับการคาดหวังว่าจะสามารถใช้ได้ภายในหน่วยงานและองค์กรอื่นอีกด้วย เช่น ช่วยลดงานด้านเอกสารระหว่างแผนกจัดซื้อกับแผนกตัวแทนจำหน่าย นอกจากนี้กรรมวิธีการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ [Electronic Fund Transfer (EFT)] ร่วมกับระบบ EDI จะทำให้การเบิกจ่ายเงินระหว่างองค์กรหลักกับตัวแทนจำหน่ายเป็นไปอย่างสะดวก และรวดเร็วกว่าระบบเดิม

ปัญหาและข้ออภิปราย

1. ให้ท่านอธิบายว่าธุรกรรมภายในองค์การประเภทใดบ้างที่ต้องใช้ระบบ EDI พร้อมทั้งกล่าวถึงการใช้และไม่ใช้ระบบ EDI สำหรับธุรกรรมที่ท่านได้ยกตัวอย่างมานั้นว่ามีผลดีและผลเสียอย่างไร
ตอบ
ธุรกรรมทุกประเภทสามารถที่จะนำระบบEDI เข้าไปใช้ในการช่วยเหลือด้านการลงทุนได้ เช่น ธุรกรรมของบริษัท Wal-Martอุตสาหกรรม ร้านค้าปลีกที่นำระบบมาใช้ในการช่วยลดต้นทุนกระบวนการสั่งสินค้าลดลง ซึ่งมันใช้ได้ผลดีมาก แต่ในทางตรงข้ามกันเขานั้นต้องเสียค่าใช้จ่ายในการติดตั้งระบบEDI เป็นจำนวนเงินถุง 100,000ดอลล่า ซึ่งถือว่าแพงมากสำหรับซอฟแวร์ สะดวกรวดเร็วกว่าระบบเดิมด้วย

2.  การรวมระบบการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (EFT) เข้ากับระบบ EDI จะมีผลอย่างไร
ตอบ
หากมีการรวมระบบการโอนเงิน(EFT) กับ EDI เข้าด้วยกัน ระบบEDIนั้น จะทำให้มีการโอนเงินระหว่างธนาคารได้อย่างสะดวกรวดเร็วและปลอดภัย รวมทั้งมีความแม่นยำในการทำงานสูงมากกว่าปกติ เพราะระบบนี้เป็นระบบที่ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนข้อมูลโดยตรงอยู่แล้ว และการโอนเงินคล้ายการแลกเปลี่ยนข้อมูลดังนั้นการรวมระบบจึงคาดว่าจะสามารถ นำไปใช้ได้เป็นอย่าง

3. จงบอกแนวทางที่ระบบ EDI จะสามารถช่วยเหลือให้การทำงานภายในองค์กรมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
ตอบ
 - ระบบEDIนั้นสามารถช่วยเหลือการทำงานในระบบได้ดีมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เช่นจากการวิจัยที่ปรึกษา Authut D.Little (ADL) ที่ผลักดันให้ระบบ EDI แพร่ หลาย ได้พบว่าระบบนี้สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้หนึ่งในสามส่วนและสามารถประหยัด ค่าใช่จ่ายได้เป็นจำนวนมากไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายในงานหนังสือ ระยะเวลาจัดการที่สั้นลง และความผิดพลาดในการป้อนข้อมูลก็ลดน้อยลงด้วย

4. ระบบ EDI สามารถใช้ติดต่อกับตัวแทนจำหน่ายได้อย่างไร
ตอบ
- ในระหว่างช่วงปี ค.ศ.1990-1999 ระบบ EDI ได้รับการยอมรับและเป็นเครื่องมือสำคัญในการทำ
ธุรกิจมาตรฐานการสื่อสารข้อมูลที่ชื่อว่า x.12 เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดในสหรัฐอเมริกา และจัดเป็นมาตรฐานประเภท EDIFACT ซึ่งได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในทวีปยุโรป มาตรฐานดังกล่าวทำให้การใช้งานระบบ EDI ง่ายยิ่งขึ้น เหมาะสำหรับบริษัทที่จะพัฒนาเครือข่าย EDI กับตัวแทนจำหน่าย ซึ่งจากการพัฒนาตรงนี้ทำให้สามารถติดต่อกับตัวแทนจำหน่ายได้

5. ท่านคิดว่าระบบ EDI ช่วยสร้างศักยภาพในการแข่งขันในอุตสาหกรรมได้อย่างไร
ตอบ
 - ระบบEDI สามารถ ช่วยในการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตได้เป็นอย่างมากเพราะระบบนี้สามารถช่วยลด ต้นทุนในผลิตได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอุตสาหกรรมจากตัวอย่างเช่นบริษัทWal-Mart ได้พัฒนาเครือข่าย EDI ที่ แพงมากที่สุดแห่งหนึ่งในอุตสาหกรรมร้านค้าปลีกซึ่งพบว่ามีผลต่อธุรกิจเพราะ จะช่วยให้ต้นทุนกระบาวนการสั่งสินค้าของบริษัทลดลง และยังช่วยให้บริษัทรักษากลยุทธ์ด้านต้นทุนการผลิตไว้ได้ด้วย

6. จงยกตัวอย่างการใช้ระบบ EDI ภายในองค์การพร้อมทั้งบอกข้อดีของการใช้ระบบ EDI ภายในองค์กรด้วย
ตอบ -
องค์การเภสัชกรรมในฐานะที่เป็นผู้จำหน่ายยาแก่โรงพยาบาลของรัฐรายใหญ่รายหนึ่ง หากมีการนำ EDI มาใช้กับลูกค้าจะเป็นการช่วยพัฒนาระบบสาธารณสุขของประเทศได้มาก ดังจะเห็นได้ว่าประโยชน์ของการใช้ EDI นั้น นอกจากจะเพิ่มความรวดเร็วในการดำเนินการของธุรกิจแล้ว ยังลดความซ้ำซ้อนและความผิดพลาดในการดำเนินงานขั้นตอนต่าง ๆ อีกทั้งยังเป็นประโยชน์กับลูกค้าในการควบคุม สต๊อคยา กล่าวคือนอกจาก ลูกค้าจะได้รับยารวดเร็ว( เพราะลดขั้นตอนการทำงานของทั้ง 2 ฝ่าย ) ทำให้ไม่ต้องสต๊อกยาไว้มากแล้ว ถ้าพัฒนาระบบให้สมบูรณ์เมื่อปริมาณยาในสต๊อคลดลงเท่า Safety stock แล้ว ระบบคอมพิวเตอร์จะสั่งยานั้น ในปริมาณที่ระบุไว้ในระบบไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ของบริษัทผู้ผลิตยาเอง นอกจากนี้ผลพลอยได้ที่สำคัญ ก็คือสามารถมัดใจลูกค้าให้เป็นหนึ่งเดียวกับผู้ผลิตได้ แต่มีข้อเสียคือต้องใช้จ่ายในการติดตั้งเป็นจำนวนมากถึง 8หมื่นล้านบาท ยกตัวอย่างเช่นองค์การเภสัชกรรม

7. บริษัท Wal-Mart ได้พยายามบังคับตัวแทนจำหน่ายให้เชื่อมต่อระบบ EDI เข้ากับระบบของตนเองแนวคิดดังกล่าวถูกต้องหรือไม่ ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร และท่านคิดว่าวิธีการใดที่ควรจะนำมาใช้เพื่อกระตุ้นให้ตัวแทนจำหน่ายติดตั้ง การเชื่อมต่อระบบ EDI ได้
ตอบ - 
ดิฉันคิดว่าเป็นการกระทำที่ถูกต้องที่ทางบริษัท Wal-Martได้บังคับตัวแทนจำหน่ายให้ติดตั้งระบบ EDI เพราะ ระบบนี้จะสามารถช่วยเหลือทางบริษัทได้มาก คิดว่าทางบริษัทควรจะหาวิธีการกระตุ้นโดยการที่อาจอธิบายความสำคัญของระยะ นี้แก่ตัวแทนจำหน่ายหลังจากนั้นให้มีการทดลองติดตั้งกับตัวแทนบางส่วนในขั้น ต้นก่อน เมื่อทุกฝ่ายเห็นตรงกันว่ามีความสะดวกสาบายจริงและมีประโยชน์มีคุณค่าต่อการ ติดตั้ง คุ้มกับการลงทุน ตัวแทนทั้งหลายก้อจาเกิดความสนใจและยอมกระทำตามเอง เพราะเราได้การทดลองใช้ระบบนี้เป็นหลักฐานให้เค้าเห็นแล้ว

กรณีศึกษา 7 ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (EIS) ของบริษัทเงินทุน Fidelity
          ในอดีตถ้าจะรวบรวมข้อมูลที่ต้องการเพื่อจัดทำรายงานขนาด 45 หน้า เพื่อแจกให้แก่กรรมการการเงินระดับอาวุโสนั้นต้องใช้เจ้าหน้าที่ถึง 10 คน และต้องใช้เครือข่าย Sneaker ช่วยในการรวบรวมข้อมูล แต่ปัจจุบันนี้ข้อมูลส่วนใหญ่จะได้จากการเชื่อมตรง (On-line) ในระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (EIS) หรือระบบข้อมูลข่าวสารสำหรับผู้บริหาร ดังนั้นลักษณะงานที่ต้องใช้คนจำนวนมากถึง 10 คน จึงถือว่าล้าสมัยไปแล้ว

          ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (EIS) ได้เปลี่ยนรูปแบบการทำงานของผู้บริหารในบริษัทเงินทุน Fidelity จากการรับข้อมูลจากรายงานที่แจกด้วยสำเนาเอกสาร มาเป็นการรับข้อมูลปฏิบัติการผ่านระบบคอมพิวเตอร์จากระบบฐานข้อมูลได้ทันที ทำให้ผู้วิเคราะห์ข้อมูลและผู้บริหารใช้ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (EIS) เพื่อรับข้อมูลที่ต่อเชื่อมตรง (On-line) ผ่านไมโครคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย (Network) จึงไม่จำเป็นต้องผลิตรายงานแบบนำมาปะติดปะต่อกันอีก เพราะรายงานที่รวบรวมได้นั้นสามารถส่งถึงผู้ใช้ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (EIS) ได้มากกว่า 100 ราย บริษัทเงินทุน Fidelity มีความภาคภูมิใจที่ได้ลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) เพื่อช่วยเพิ่มศักยภาพด้านการแข่งขันในตลาดการเงินที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงไป อย่างรวดเร็วทั้งในประเทศและต่างประเทศทั่วโลก

          บริษัทเงินทุน Fidelity ทำการบริหารกิจการเงินทุนร่วม (Mutual fund) มากกว่า 60 ราย รวมทั้งบริษัทเงินทุน McGallan ด้วย บริษัทที่ใหญ่ที่สุด คือ American Mutual Fund ซึ่งดำเนินงานกิจการที่มีมูลค่าถึง 165 พันล้านดอลลาร์

          เป็นที่เข้าใจกันว่าการจัดทำระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (EIS) เพื่อให้ได้รับข้อมูลที่มีความสมบูรณ์ การใช้เครื่องเมือเพื่อสร้างตัวแบบสิ่งอำนวยความสะดวกที่จะสามารถช่วยให้ผู้ บริหารตัดสินใจได้อย่างถูกต้องไม่ใช่เรื่องเล็ก ระบบใหม่ซึ่งเรียกว่า “เฟมิส (Famis)” เป็นการบริหารด้านการเงินและการบริหารด้านข่าวสารซึ่งช่วยให้สามารถบ่งชี้ และเลือกใช้ข้อมูลได้โดยง่าย นอกจากนั้นอาจใช้ซอฟต์แวร์ Excel หรือโปรแกรมตัวแบบของระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (EIS) ร่วมด้วย ซึ่งจะทำให้ข้อมูลถูกจัดเก็บไว้ในรูปแบบต่าง ๆ ของระบบแฟ้มข้อมูล

          บุคคลในวงการธนาคารได้มีปฏิกิริยาในทางบวกต่อระบบเฟมิส (Famis) ดังกล่าว ผู้วิเคราะห์และผู้จัดการฝ่ายการเงินชี้แจงว่ามีความพอใจระบบสารสนเทศเพื่อ การจัดการ และรู้สึกขอบคุณที่มีสิทธิ์ได้เข้าสู่ระบบข่าวสารที่ทันเหตุการณ์และมีส่วน เกี่ยวข้องกับหน้าที่การานของตน บุคคลเหล่านี้มีความเชื่อมั่นต่อโครงการของตนมากขึ้น และมีความรู้สึกว่าสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของตลาดหุ้นได้รวด เร็วยิ่งขึ้น อันจะเป็นประโยชน์และมีความสำคัญยิ่งขึ้นในภาคการบริการด้านการเงิน

           เจ้าหน้าที่ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS) หรือเจ้าหน้าที่ระบบการบริหารด้านข่าวสารมีความตั้งใจที่จะเพิ่มพูน ประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (EIS) ของบริษัทเงินทุน Fidelity อย่างต่อเนื่อง นายอัลเบิร์ด นิคมี ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาระบบและหัวหน้าโครงการระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (EIS) มีความสนใจเป็นพิเศษ ในการที่จะเพิ่มขีดความสามารถในส่วนที่บกพร่องของระบบ EIS

ปัญหาและข้ออภิปราย

1. ข้อดีและข้อเสียของระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (EIS) มีอะไรบ้าง
ตอบ
 - ข้อดีของ EIS คือ 1. ผู้บริหารสามารถรับข้อมูลปฏิบัติการผ่านระบบคอมพิวเตอร์จากระบบฐานข้อมูลได้ 2. ช่วยเพิ่มศักยภาพด้านการแข่งขันในตลาดการเงิน 3. การใช้งานไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์ 4. มีการกรองข้อมูลทำให้ประหยัดเวลา
ข้อเสียของ EIS คือ 1. มีข้อจำกัดในการใช้งาน 2. ยากต่อการประเมินผลประโยชน์ที่ได้จากระบบ 3. ไม่สามารถทำการคำนวณที่ซับซ้อนได้ 4. ก่อให้เกิดปัญหาการรักษาความลับของข้อมูล

2. เหตุใดการออกแบบระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (EIS) จึงเป็นการยากมากสำหรับบริษัทเงินทุน Fidelity
ตอบ -
เพราะในการออกแบบระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารนั้น ทำให้บริษัทเงินทุน Fidelity ต้องบริหารกิจการเงินทุนที่มีมูลค่ามาก และต้องซื้ออุปกรณ์ที่ทันสมัยในราคาสูงเพื่อคุณภาพที่ดี

3. ท่านคิดว่าระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (EIS) ของบริษัทเงินทุน Fidelity จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้อย่างไร
ตอบ 
- สามารถช่วยให้การบริการนั้นเป็นไปในทางที่ง่ายมีข้อมูลที่สมบูรณ์ทัน เหตุการณ์ และสามารถปรับตัวการเปลี่ยนแปลงตลอดหุ้นให้รวดเร็วยิ่งขึ้นอันเป็นประโยชน์ ในภาคการบริหารด้านการเงิน

กรณีศึกษา 8 ระบบการกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก (GPS) ก่อให้เกิดระบบปฏิบัติการใหม่ ๆ ในเชิงพาณิชย์
 

            ตั้งแต่ ปี ค.ศ.1978 เป็นต้นมา กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาได้ใช้เงินมากกว่า 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในการพัฒนาระบบการกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลกที่ชื่อว่า Navstar ซึ่งจะใช้เครือข่ายของดาวเทียมจำนวน 24 ดวงที่โคจรอยู่เหนือพื้นโลกประมาณ 11,000 ไมล์ โดยที่ดาวเทียมแต่ละดวงประกอบด้วยนาฬิกาชนิดอะตอมซึ่งจะส่งสัญญาณบอกเวลาและ ตำแหน่งของวัตถุ สัญญาณที่ส่งออกมาเหล่านี้จะบ่งบอกชนิด และเส้นทางการโคจรของดาวเทียมเครื่องรับสัญญาณจะเชื่อมกับระบบคอมพิวเตอร์บน ยานพาหนะที่กำลังเคลื่อนที่บนพื้นโลกได้เพื่อเปรียบเทียบสัญญาณกับนาฬิกาที่ อยู่บนพื้นโลก และทำการคำนวณหาระยะทางระหว่างยานพาหนะโลกและดาวเทียม โดยการล็อกสัญญาณจากดาวเทียมจำนวน 4 ดวง เครื่องรับสัญญาณสามารถกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลกได้ภายในระยะเพียง 17.5 หลา โดยการคำนวณข้อมูลจากเครื่องรับสัญญาณชุดที่สองบนพื้นผิวโลก นอกจากนี้ยังสามารถกำหนดตำแหน่งของยานพาหนะที่กำลังขับเคลื่อนภายในระยะ 0.5 นิ้ว ได้อีกด้วย
            ระบบการกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก [Global Positioning System (GPS)] มีความสำคัญอย่างยิ่งในระหว่างสงครามอ่าวเปอร์เซีย ทหารสามารถระบุตำแหน่งที่ถูกต้องแม่นยำได้ในทะเลทรายที่ไม่มีจุดอ้างอิงใดๆ จากการรับข้อมูลจากดาวเทียม ซึ่งเครื่องรับสัญญาณมีขนาดเล็กเพียงแค่หนังสือพ็อกเก็ตบุ๊คเท่านั้น ความถูกต้อง เที่ยงตรงของระบบนี้ยังสามารถนำไปใช้ในทางธุรกิจซึ่งอาจจะช่วยเพิ่ม ประสิทธิภาพในการดำเนินงาน และช่วยให้องค์การนั้นเป็นผู้นำในการแข่งขันด้วย
            บริษัทหนึ่งที่เริ่มใช้ประโยชน์ของระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลกที่ชื่อว่า Navstar นี้แล้ว คือบริษัท Minute Man Delivery Service ใน Gardena มลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา โดยสามารถใช้ระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก [Global Positioning System (GPS)] ในการจัดส่งรถบรรทุก 40 คันของบริษัทได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าในอดีต ซึ่งที่ผ่านมานั้นผู้จัดทำตารางการขนส่งจะต้องจัดเส้นทางของคนขับแต่ละคน และติดต่อกับคนร้ายด้วยวิทยุตลอดเวลาเพื่อตรวจสอบว่าเดินทางไปถึงไหนแล้ว แต่เมื่อนำ GPS มาใช้ ผู้จัดทำตารางการขนส่งสามารถกำหนดตำแหน่งของรถบรรทุกแต่ละคันได้ทันที ทำให้ง่ายในการเปลี่ยนเส้นทางของแต่ละวัน เช่น เพิ่มการไปรับสินค้าโดยกะทันหัน และเมื่อเปรียบเทียบกับระบบเก่าแล้วสามารถกำหนดเส้นทางให้รถบรรทุกได้โดยใช้ เวลาเพียงครึ่งหนึ่งของระบบเก่า ซึ่งทำให้ต้นทุนลดลง การกำหนดงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น และให้บริการได้ดีขึ้น
             Northwest Airlines เป็นหนึ่งในสายการบินซึ่งมีการดัดแปลงระบบการกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก (GPS) สำหรับการปฏิบัติงานโดยการใช้ข้อมูลจาก GPS นักบิน ผู้ควบคุมการจราจรทางอากาศ และสำนักงานการบินแห่งชาติของแต่ละประเทศ (FAA) สามารถบอกตำแหน่งของเครื่องบินแต่ละลำได้ตลอดเวลา ทำให้ง่ายและปลอดภัยมากขึ้นในการกำหนดการขึ้นลงของเครื่องบิน สำหรับสนามบินขนาดใหญ่ที่มีเครื่องบินขึ้นลงจำนวนมาสายการบิน Northwest ยังได้ทำงานร่วมกับ FAA ในการกำหนดเส้นทางบินที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยซึ่งสามารถช่วยลดปริมาณ เชื้อเพลิงที่ใช้ด้วย เจ้าหน้าที่ FAA รู้สึกว่า GPS อาจช่วยให้การขึ้นลงของเครื่องบินสามารถทำได้แม้แต่ในสภาพอากาศที่มีหมอกลง หนามาก
              นักธรณีวิทยาคาดว่าจะสามารถใช้ประโยชน์จากระบบ GPS ได้โดยนำระบบดังกล่าวมาใช้ในการตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหันบนพื้น ผิวโลก เช่น การเปลี่ยนแปลงที่ระบุว่าน่าจะมีแผ่นดินไหวหรือภูเขาไฟระเบิดซึ่งจะสามารถ ช่วยชีวิตคนได้มาก
              ลักษณะการใช้สัญญาณ GPS นั้นจะประกอบเข้ากับข้อมูลอื่น ๆ ได้อีก เช่น การใช้ข้อมูลระบบ GPS กับแผนที่โลกสามารถนำไปสู่ระบบการตรวจหายานพาหนะที่มีความเร็วสูงบนพื้นโลก หรือติดตั้งระบบ GPS พร้อมกับมีจอคอมพิวเตอร์เล็ก ๆ ติดที่รถยนต์สามารถแสดงให้คนรับรู้ว่ามีการจราจรติดขัดที่ใด หรือมีปั้มน้ำมัน โรงพยาบาล ร้านอาหาร หรือ ATM ที่ใกล้ที่สุดที่ใดบ้าง เป็นต้น
              มีบริษัทมากกว่า 12 แห่ง ที่ใช้ประโยชน์จากระบบนี้ในทางอ้อม โดยทำการผลิตเครื่องรับสัญญาณสำหรับใช้ในการดำเนินงานที่ไม่เกี่ยวกับการท หาร ทำให้ยอดขายสินค้าเพิ่มขึ้นกว่า 10 เท่า คือ มากกว่า60 ล้านเหรียญสหรัฐจากปี ค.ศ.1990-1993 ในช่วงเวลาดังกล่าวนี้บริษัท Sony ได้วางตลาดเครื่องรับสัญญาณ GPS สำหรับนักเดินป่าและจะมีเครื่องมือที่ประยุกต์ใช้ระบบ GPS เพิ่มขึ้นเมื่อต้นทุนของชิป (Chip) สำหรับเครื่องรับสัญญาณลดลงในช่วงปี ค.ศ. 1990-2000 นี้
              เมื่อระบบ Navstar สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์แล้ว กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาจะค่อย ๆ ลดการส่งสัญญาณจากดาวเทียมลง ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้ฝ่ายตรงข้ามใช้สัญญาณนี้เพื่อหาตำแหน่งในการยิง ขีปนาวุธเพื่อทำลายดาวเทียมของตน โดยทำการลดสัญญาณลง 2-3 วินาที ตำแหน่งของดาวเทียม และภาคพื้นดินที่คำนวณได้จะคลาดเคลื่อนไปประมาณ 110 หลา แต่กระทรวงกลาโหมได้เตรียมเครื่องมือที่เป็นรหัสเฉพาะซึ่งจะชดเชยความคลาด เคลื่อนดังกล่าวนี้เพื่อการใช้งานในเชิงพาณิชย์ที่ไม่เกี่ยวกับการทหาร กลไกการชดเชยนี้จะมีผลต่อการเพิ่มต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานของระบบ GPS ด้วย
              กรณีศึกษานี้ได้กล่าวถึงระบบการกำหนดตำแหน่งต่าง ๆ บนพื้นโลกซึ่งก่อให้เกิดระบบการปฏิบัติการใหม่ๆ เชิงพาณิชย์เรียกว่า GPS ซึ่งเป็นตัวสัญญาณดาวเทียมที่กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาคิดค้นขึ้นเพื่อ ช่วยกำหนดทิศทางในการเดินทาง การขนส่ง ร้านอาหาร หรือแทบจะเรียกได้ว่ามีความสำคัญมากในชีวิตประจำวัน และมีผลทำให้องค์กรประสบความสำเร็จสูงมาก

ปัญหาและข้ออภิปราย

1. ให้ยกตัวอย่างเครื่องมือกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลกที่ใช้ทางพาณิชย์อย่างน้อย 3 ประเภท ซึ่งยังไม่ได้กล่าวถึงในกรณีศึกษานี้ จงอธิบายตัวอย่างแต่ละประเภทของท่านจะช่วยให้องค์กรสามารถปฏิบัติงานได้ดี กว่าอย่างไร
ตอบ
 - ระบบสื่อสารเคลื่อนที่ หรือที่เรียกว่าระบบเซลลูลาร์โฟน (cellula phone system) ที่ ใช้กับโทรศัพท์ ทำให้มีโทรศัพท์ติดรถยนต์ โทรศัพท์มือถือ ปัจจุบันการ สื่อสารระบบนี้เป็นที่แพร่หลายและนิยมใช้กันมาก ลักษณะการทำงานของระบบสื่อ สารแบบนี้คือ มีการกำหนดพื้นที่เป็นเซลเหมือนรวงผึ้ง แต่ละเซลจะครอบคลุม พื้นที่จำนวนหนึ่ง มีระบบสื่อสารเชื่อมโยงระหว่างเซลเข้าด้วยกัน ครอบคลุม พื้นที่บริการไว้ทั้งหมด ดังนั้นเมื่อเราอยู่ที่บริเวณพื้นที่บริการ ใด และมีการใช้โทรศัพท์มือถือ สัญญาณจากโทรศัพท์มือถือจะเชื่อมโยงกับ สถานีรับส่งประจำเซลขึ้น ทำให้ติดต่อไปยังข่ายสื่อสารที่ใดก็ได้ ครั้น เมื่อเราเคลื่อนที่ออกนอกพื้นที่ก็จะโอนการรับส่งไปยังเซลที่อยู่ข้าง เคียง โดยที่สัญญาณการสื่อสารไม่ขาดหาย
           ใน อนาคตมีโครงการที่จะใช้ดาวเทียมเป็นตัวควบคุมการสื่อสารประจำเซล โดย พื้นที่ทั่วโลกจะสื่อสารถึงกันได้หมด โครงการสื่อสารได้นี้จะใช้ดาวเทียม ที่โคจรในวิถีวงโคจรที่อยู่ห่างจากพื้นโลกไม่เกิน 10,000 กิโลเมตร และ ใช้ดาวเทียมประมาณ 66 ดวง ที่ลอยอยู่บนท้องฟ้าตลอดเวลา ดาวเทียมเหล่า นี้จะไม่อยู่ในตำแหน่งคงที่ แต่โคจรไปรอบโลกตลอกเวลา ทุกขณะบนพื้นโลกจะ มองเห็นดาวเทียมหลาย ๆ ดวง ดาวเทียมเหล่านี้จะเป็นตัวเชื่อมโยงสัญญาณสื่อสารบนพื้นโลกที่มีการ แบ่งเป็นเซลไว้ให้ติดต่อสื่อสารถึงกันได้หมด
           อุปกรณ์บอกชี้ตำแหน่งบนพื้นโลก พัฒนาการ ทางด้านอวกาศทำให้ประเทศที่มีเทคโนโลยีด้านนี้ส่งดาวเทียมขึ้นไปบนท้องฟ้า ได้มากมาย มีหลายประเทศส่งดาวเทียมขึ้นไปบนท้องฟ้า 3 ดวง ให้โคจรนิ่งอยู่ในตำแหน่งบนท้องฟ้าเพื่อรับส่งสัญญาณกับเครื่องบอก ตำแหน่งบนพื้นโลก เครื่องบอกตำแหน่งนี้มีขนาดเล็กเท่าวิทยุมือถือ เมื่อ ส่งสัญญาณรับส่งกับดาวเทียมทั้งสามดวงนี้ ก็จะบอกตำแหน่งพิกัดเส้น รุ้ง เส้นแวงบนพื้นโลกได้อย่างละเอียดตามตำแหน่งที่อยู่ เครื่องบอก ตำแหน่งนี้ได้รับการนำมาใช้งานต่างๆ ได้มาก เช่นใช้ติดรถยนต์เพื่อบอกตำแหน่งรถยนต์ในแผนที่ และคอมพิวเตอร์ เลือกเส้นทางการเดินทางที่ดีให้ ใช้สำหรับงานสร้างแผนที่ทาง ภูมิศาสตร์ ใช้ในการคำนวณหาระยะทางของสองจุดในพื้นที่โลกที่อยู่ห่างไกลกัน ได้อย่างเม่นยำ ใช้ในระบบการติดตามโจรผู้ร้ายของกรมตำรวจ เพื่อส่งรถสาย ตรวจไปยังบริเวณที่เกิดเหตุให้รวดเร็วที่สุด

2. เหตุใดองค์การจึงควรใช้ระบบ GPS ด้วยความระมัดระวัง และหากมีการนำระบบ GPS ไปใช้เร็วเกินไปโดยไม่พิจารณาให้รอบคอบเสียก่อนจะมีผลอย่างไร
ตอบ
 - ก่อนอื่นผู้ใช้จะต้องมีเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมหรือมีอุปกรณ์นำทาง เมื่อผู้ใช้นำเครื่องไปใช้งานมีการเปิดรับสัญญาณGPS แล้ว ตัวโปรแกรมจะแสดงตำแหน่งปัจจุบันบนแผนที่ แผนที่สำหรับนำทางจะเป็นแผนที่พิเศษที่มีการกำหนดทิศทางการจราจร เช่น การจราจรแบบชิดซ้ายหรือชิดขวา ข้อมูลการเดินรถทางเดียว จุดสำคัญต่างๆ ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ต่างๆ ฝังไว้ในข้อมูลแผนที่ที่ได้ทำการสำรวจและตั้งค่าไว้แล้ว ในแต่ละทางแยกก็จะมีการกำหนดค่าเอาไว้ด้วยเช่นกันเพื่อให้ตัวโปรแกรมทำการ เลือกการเชื่อมต่อของเส้นทางจนถึงจุดหมายที่ได้เลือกไว้ เสียง นำทางก็จะทำงานสอดคล้องกับการเลือกเส้นทาง เช่นถ้าโปรแกรมเลือกเส้นทางที่จะต้องไปทางขวาก็จะกำหนดให้มีการแสดงเสียง เตือนให้เลี้ยวขวา โดยแต่ละโปรแกรมก็จะมีการกำหนดเตือนไว้ล่วงหน้าว่าจะเตือนก่อนจุดเลี้ยว เท่าใด ส่วนการแสดงทิศทางก็จะมีการบอกไว้ล่วงหน้าเช่นกันแล้วแต่ว่าจะกำหนดไว้ล่วง หน้ากี่จุด บางโปรแกรมก็กำหนดไว้จุดเดียว บางโปรแกรมกำหนดไว้สองจุด หรือบางโปรแกรมก็สามารถเลือกการแสดงได้ตามความต้องการของผู้ใช้ การคำนวณเส้นทางนี้จะถูกคำนวณให้เสร็จตั่งแต่แรก และตัวโปรแกรมจะแสดงผลทั้งภาพและเสียงตามตำแหน่งจริงที่อยู่ ณ.จุดนั้นๆ หากมีการเดินทางออกนอกเส้นทางที่ได้กำหนดไว้ เครื่องจะทำการเตือนให้ผู้ใช้ทราบและจะคำนวณให้พยายามกลับสู่เส้นทางที่ได้ วางแผนไว้ก่อน หากการออกนอกเส้นทางนั้นอยู่เกินกว่าค่าที่กำหนดไว้ก็จะมีการคำนวณเส้นทาง ให้ใหม่เองอัตโนมัติ เมื่อเครื่องคำนวณเส้นทางให้ผู้ใช้สามารถดูเส้นทางสรุปได้ล่วงหน้า หรือแสดงการจำลองเส้นทางก็ได้ โปรแกรมนำทางบางโปรแกรมมีความสามารถกำหนดจุดแวะได้หลายจุดทำให้ผู้ใช้สามารถ กำหนดให้การนำทางสอดคล้องกับการเดินทางมากที่สุด หรืออาจใช้ในการหลอกเครื่องเพื่อให้นำทางไปยังเส้นทางที่ต้องการแทนที่เส้น ทางที่เครื่องคำนวณได้ บางโปรแกรมก็มีทางเลือกให้หลีกเลี่ยงแบบต่างๆเช่น เลี่ยงทางผ่านเมือง เลี่ยงทางด่วน เลี่ยงทางกลับรถ เป็นต้น

3. ท่านคิดว่าในการตัดสินใจค่อย ๆ ลดสัญญาณดาวเทียม (Satellite signal) ของกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกานั้นจะมีผลยับยั้งการพัฒนาการใช้งานในเชิง พาณิชย์หรือไม่ แสดงเหตุผลประกอบ
ตอบ
 - ไม่มีผลกระทบต่อการใช้งานเชิงพาณิชย์ เพราะกระทรวงกลาโหมได้เตรียมเครื่องมือเพื่อที่แก้ไขปัญหาที่เกิดจากการลด สัญญาณดาวเทียม แต่ทางกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาก็ยังพัฒนาระบบต่อไปเพื่อช่วยกำหนดทิศ ทางในการเดินทาง การขนส่ง ร้านอาหารซึ่งมีความสำคัญในชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก และส่งผลทำให้องค์กรประสบความสำเร็จสูงมาก

4. ถ้าท่านพยายามที่จะทำให้เจ้านายของท่านเชื่อมั่นในการลงทุนสำหรับการนำระบบ GPS มาใช้งานในบริษัท ท่านจะอธิบายถึงเรื่องความสำคัญ ความจำเป็น และประโยชน์ที่จะได้รับอย่างไร เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาของท่านเข้าใจและให้การยอมรับ
ตอบ
 - ความสำคัญของ GPS
           GPSสามารถใช้ค้นหาสถานที่ต่างๆ ครับ เช่น ที่พัก โรงแรม ปั๊ม น้ำมัน จุดพักรถ ฯลฯ นอกจากนั้นยังใช้บอกเส้นทางการเดินทางไปสถานที่ต่างๆ เส้นทางที่ประหยัดเวลาและน้ำมัน บอกเส้นทางที่รถไม่ติดและใกล้ที่สุด และยังเป็นไกนด์นำเที่ยวให้เราได้อีกด้วย และมั่นใจได้ว่า จะไม่หลงทาง เพราะความแม่นยำของ GPS ในปัจจุบันความคลาดเคลื่อนอยู่ที่ ไม่เกิน 10 เมตร เท่านั้น และในอนาคตจะอยู่ในระดับไม่เกินเซนติเมตร
            ความจำเป็นของGPS เห็นประโยชน์หลายหลากของเจ้าระบบจีพีเอส แล้วหลายคงนึกว่า มันต้องจำเป็นแน่นอน แต่จากการทดลองใช้ ทำให้เราพบว่า หากเป็นเส้นทางคุ้นเคยหรือรู้อยู่แล้ว เจ้าจีพีเอสไม่มีประโยชน์แต่อย่างใด ซึ่งจะตรงข้ามกันอย่างสิ้นเชิงหากเรากำลังจะเดินทางไปในจุดที่ไม่เคยไปมา ก่อน เจ้าจีพีเอสจะมีประโยชน์อย่างมาก และจะขาดไม่ได้หากเป็นการเดินทางในถนนเปลี่ยวหรือกลางค่ำกลางคืน ไม่อาจสอบถามใครได้ ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับซอฟแวร์อัพเดตข้อมูลถนนใหม่ๆ ครบถ้วนด้วย
จำ เป็น และมีประโยชน์มาก เพราะเราสามารถเดินทางไปได้ทุกแห่งที่อยากไป และหากเกิดปัญหาจีพีเอสก็ช่วยได้ อย่างเช่นเมื่อเร็ว ๆ นี้รถยางแตกตอนกลางคืนผมก็ใช้ระบบนี้เพื่อหาร้านซ่อมว่าอยู่ที่ไหนบ้าง ซึ่งผมก็ไม่ผิดหวัง
ประโยชน์ที่จะได้รับ
            สามารถนำทางไปในสถานที่ต่าง ๆ ค้นหาสถานที่ต่าง ๆ ที่สำคัญ ๆ กำหนดจุดสนใจต่าง ๆ ได้ ใช้ในการวัดพื้นที่ การสำรวจ การเดินป่า การเดินเรือ ซึ่งสามารถนำทางกลับสู่ตำแหน่งตั้งต้นได้ และการบันทึกข้อมูลสำหรับการเล่นกีฬากลางแจ้ง
            ในเรื่องการขนส่งมีการนำ GPS ไป ใช้เป็นระบบติดตามรถยนต์ เพื่อควบคุมดูแลตลอดจนบันทึกเส้นทาง ลักษณะการขับรถ และการควบคุมเครื่องมืออุปกรณ์ในรถ เช่น อุณหภูมิ ตู้แช่สินค้า ทำให้สามารถบริหารจัดการการขนส่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัดค่าใช้จ่าย และในด้านความปลอดภัยก็สามารถทราบถึงตำแหน่งของรถว่าอยู่ที่ไหน เกิดอะไรขึ้น สะดวกต่อการตรวจสอบติดตามรถ
            ความสามารถในการระบุตำแหน่งที่ตั้งต่างๆ ได้อย่างแม่นยำ เช่นตำแหน่งที่อยู่ปัจจุบันของเรา พร้อมทั้งแสดงแผนที่หรือนำทางไปยังจุดหมาย อย่างรวดเร็วโดยไม่หลงทาง แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับซอฟแวร์ด้วยว่า มีข้อมูลอัพเดตเพียงไร เนื่องจากมีถนนตัดใหม่เกิดขึ้นอยู่เป็นระยะๆ
            นอกจากความสามารถในการระบุตำแหน่งแล้ว อนาคตระบบจีพีเอส ยังจะสามารถบอกถึงสภาพการจราจร และแนะนำเส้นทางที่โล่งให้แก่เราได้ อีกทั้งในทางทฤษฎีระบบจีพีเอสยังสามารถช่วยเราติดตามรถ หากเกิดกรณีถูกลักขโมยไป เพราะมันจะสามารถระบุตำแหน่งที่อยู่ได้อย่างชัดเจน (ให้ลองนึกถึงเวลาเครื่องบินตกแล้วมีการติดตาม หรือนาฬิกาบางยี่ห้อที่มีการนำระบบจีพีเอส นี้ติดตั้งไว้ สำหรับกรณีขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน) เดินเรือ และ การควบคุมเครื่องมืออุปกรณ์ในรถ เช่น อุณหภูมิ ตู้แช่สินค้า ทำให้สามารถบริหารจัดการการขนส่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัดค่าใช้จ่าย และในด้านความปลอดภัยก็สามารถทราบถึงตำแหน่งของรถว่าอยู่ที่ไหน เกิดอะไรขึ้น สะดวกต่อการตรวจสอบติดตาม นำทางไปในสถานที่ต่าง ๆ ค้นหาสถานที่ต่าง ๆ ที่สำคัญ ๆ กำหนดจุดสนใจต่าง ๆ ได้ ใช้ในการวัดพื้นที่ การสำรวจ การเดินป่า การเดินเรือ ซึ่งสามารถนำทางกลับสู่ตำแหน่งตั้งต้นได้ และการบันทึกข้อมูลสำหรับการเล่นกีฬากลางแจ้ง
            ในเรื่องการขนส่งมีการนำ GPS ไป ใช้เป็นระบบติดตามรถยนต์ เพื่อควบคุมดูแลตลอดจนบันทึกเส้นทาง ลักษณะการขับรถ และการควบคุมเครื่องมืออุปกรณ์ในรถ เช่น อุณหภูมิ ตู้แช่สินค้า ทำให้สามารถบริหารจัดการการขนส่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัดค่าใช้จ่าย และในด้านความปลอดภัยก็สามารถทราบถึงตำแหน่งของรถว่าอยู่ที่ไหน เกิดอะไรขึ้น สะดวกต่อการตรวจสอบติดตาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น