วันอาทิตย์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 9 ปัญญาประดิษฐ์และระบบผู้เชี่ยวชาญ


บทที่ 9 ปัญญาประดิษฐ์และระบบผู้เชี่ยวชาญ

1. จงอธิบายความหมายของระบบความฉลาดและปัญญาประดิษฐ์ (AI)
     ตอบ.
ระบบความฉลาด หมายถึง ระบบที่แสดงพฤติกรรมที่สามารถที่แสดงพฤติกรรมที่สามารถกล่าวได้ว่า มีความฉลาดตามความรู้สึกของมนุษย์ ซึ่งการศึกษาด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มักจะเรียนว่า ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI เนื่อง จากเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์และสารสนเทศเป็นสาขาวิชาที่มีการพลวัตอย่างรวด เร็ว ส่งผลให้ความหมายและความเข้าใจในหลายแขนงวิชามีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
AI หมายถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ถูกพัฒนาให้มีความสามรถเรียนรู้ ใช้เหตุผล และปรับปรุงข้อบกพร่องของตนให้ดีขึ้น

2. AI มีการดำเนินงานที่เหมือนหรือแตกต่างจากระบบสารสนเทศทั่วไปอย่างไร
     ตอบ.
ปัญญาประดิษฐ์ ระบบสารสนเทศทั่วไป
              - ประมวลสัญลักษณ์และตัวเลข
              - ประมวลทางคณิตศาสตร์
              - ไม่ดำเนินตามขั้นตอน
              - วิเคราะห์และแก้ปัญหาตามขั้นตอนทางคณิตศาสตร์
              - ให้ความสำคัญกับการรับรู้แบบแผน

3. เราสามารถจำแนก AI ออกเป็นกี่ประเทศ อะไรบ้าง
     ตอบ.
1. การประมวลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing)
          2. ระบบภาพ (Vision System)
          3. ระบบเครือข่ายเส้นประสาท (Neural Networks)
          4. หุ่นยนต์ (Robotics)
          5. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System)

4. ระบบผู้เชี่ยวชาญคืออะไร และมีความเหมือนหรือแตกต่างจาก AI อย่างไร
     ตอบ.
ระบบสารสนเทศหมายถึงชุดค่ำของคอมพิวเตอร์ที่เก็บรวบรวมความรู้เกี่ยวกับ ปัญหาเฉพาะเรื่อง และกระบวนการอนุมานเพื่อนำไปสู่ผลสรุปขอปัญหานั้น โดยความรู้ที่เก็บรวบรวมอาจเป็นความรู้ที่ถูกบันทึกอย่างเป็นทางการในเอกสาร ต่าง ๆ หรือเป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้น

5. จงเปรียบเทียบความเหมือนและแตกต่างระหว่างฐานความรู้กับฐานข้อมูล
     ตอบ.
 - ความแตกต่างของความรู้และข้อมูล
              - ความชัดเจน
              - ความเป็นสากล

6. เราสามารถประเมินความรู้ระบบสารสนเทศว่ามีความเชี่ยวชาญในแต่ละสาขาความรู้อย่างไร
     ตอบ. 
การทดสอบแบบ Turning (Turning Test) โดย กำหนดคอมพิวเตอร์และบุคคลที่มีความรู้ในสาขานั้นตอบคำถามจากผู้สัมภาษณ์ ผู้ตอบคำถาม และระบบความฉลาดถูกจัดให้อยู่ในห้องที่แยกจากกันอย่างเป็นสัดส่วน

7. จงอธิบายขั้นตอนในการพัฒนา ES ตลอดจนเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างการพัฒนา ES กับการพัฒนาระบบสารสนเทศปกติ
     ตอบ
กระบวนการพัฒนา ES ออกเป็น 5 ขั้นตอน
               1) การวิเคราะห์ปัญหา ผู้พัฒนาระบบความฉลาดจะดำเนินการพิจารณาถึงความต้องการ ความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของการนำระบบไปใช้งานในสถานการณ์จริงโดยทำเข้าใจกับปัญหา จัดขั้นตอนในการแก้ปัญหา การกำหนดรูปแบบของการให้คำปรึกษา ตลอดจนรวบรวมความเข้าใจในสาระสำคัญที่จะนำมาประกอบการพัฒนาระบบ
               2) การเลือกอุปกรณ์ ผู้พัฒนาระบบต้องพิจารณาเลือกอุปกรณ์ที่ใช้เป็นส่วนประกอบของ ES ซึ่งแต่ละส่วนจะมีความต้องการอุปกรณ์ที่มีความเหมาะสมแตกต่างกัน โดยพิจารณาความเหมาะสมของส่วนประกอบที่สำคัญ
               3) การถอดความรู้ การถอดความรู้เป็นกระบวนการสำคัญในการพัฒนา ES ซึ่งเราสามารถกล่าวได้ว่า เป็นหัวใจของการพัฒนาระบบความฉลาด
               4) การสร้างต้นแบบ ผู้พัฒนา ES นำเอาส่วนประกอบต่าง ๆ ที่กล่าวประกอบารสร้างต้นแบบ ของ ES โดย ผู้พัฒนาระบบจะเริ่มต้นจากกากนำแนวความคิดความคิดทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับ ระบบที่ต้องการพัฒนาจัดเรียงลำดับ โดยเริ่มจากเป้าหมายหรือคำตอบของการประมวล การไหลเวียนทางตรรกะของปัญหา ขั้นตอนแสดงความรู้ การจัดลำคับของขั้นตอนที่จำเป็น พร้อมทั้งทดสอบการทำงานองต้อนแบบที่สร้างขึ้นว่า สามารถทำงานได้ตามที่ได้วางแผนไว้
               5) การขยาย การทดสอบ แลการบำรุงรักษา หลังจากที่ต้นแบบได้ถูกสร้างขึ้นและสามารถผ่านการทดสอบการทำงานแล้ว เพื่อที่จะให้ระบบสามารถนำไปใช้ในสภาวการณ์จริงได้ ก็จะทำให้การขยายระบบให้ใหญ่ขึ้นจากต้นระบบ โดยเฉพาะสวนที่เป็นฐานความรู้ เป็นส่วนที่ใช้อธิบายส่วนที่ติดต่อกับผู้ใช้ และตกแต่งหน้าจอให้มีความเหมาะสมการใช้งานมากขึ้น เมื่อระบบถูกขยายขึ้นแล้วก็ต้องมีการทดสอบระบบอีกครั้งหนึ่ง โดยใช้ในกรณีศึกษาที่ทีมพัฒนาพอรู้คำตอบแล้ว เพื่อตรวจสอบการทำงานของระบบว่าได้ทำงานอย่างถูกต้องหรือไม่ เมื่อได้ผ่านการทดสอบแล้ว ก็พร้อมที่จำเป็นใช้จริงได้ ก็ควรมีหลักเกณฑ์หรือขั้นตอนในการบำรุงรักษาและปรับปรุงอยู่เสมอฐานความรู้ ฐานความรู้ควรต้องได้รับการเพิ่มความรู้ลงไปเป็นระยะ ๆ เพื่อให้ระบบสามารถมีความรู้เพียงพอในการแก้ปัญหาต่างๆ

8. วิศวกรรมความรู้คืออะไร และมีความเหมือนหรือแตกต่างจากการวิเคราะห์และออกแบบอย่างไร
     ตอบ.
วิศวกรความรู้ ซึ่งมีความแตกต่างจาก “นักวิเคราะห์และนัดออกแบบระบบ” เอง จากวิศวกรความรู้จะใช้เวลาในการรวบรวมข้อมูลของการวิเคราะห์และตัดสินใจใน ปัญหาทั้งจากผู้เชี่ยวชาญ โยข้อมูลที่ได้จะยากการอธิบายเหตุผลในการตัดสินใจของบุคคลในแต่ละครั้ง ขณะที่นักวิเคราะห์ระบบจะพัฒนาระบบสารสนเทศจากข้อมูลทางตรรกะและคณิตศาสตร์

9. จะอธิบายการทำงานของระบบเครือข่ายใยประสาท
     ตอบ. 
ระบบเครือข่ายเส้นประสาทเป็นอีกแขนงหนึ่งของ AI ที่ ได้รับความสนใจศึกษาจากนักวิทยาศาสตร์และวิศวกร เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับงานแก้ปัญหาที่ต้องมีการพัฒนาการตามประสบการณ์ เนื่องจากระบบเครือข่ายเส้นประสาทจะเลียนแบบการทำงานของสมอง และระบบประสาทมนุษย์ โดยระบบจะสัมผัส เรียนรู้ จดจำ และปฏิบัติงานตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพตามการออกแบบ และประสบการณ์ที่สั่งสมมา ทำให้ระบบเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

10. ท่านคิดว่าแนวโน้มและทิศทางในการพัฒนาระบบความฉลาดของคอมพิวเตอร์จะเป็นไปในทางใด
      ตอบ.
การพัฒนาความฉลาดของระบบคอมพิวเตอร์ยังอยู่ในขั้นเริ่มต้น เมื่อเปรียบเทียบกับความฉลาดของมนุษย์ยังมีความซับซ้อนเกินกว่าที่ระบบ คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันจะสามารถลอกเลียนแบบได้อย่างสมบูรณ์ การ นำระบบความฉลาดมาประยุกต์ในทางธุรกิจจะช่วยสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน แก่องค์การ และทำให้ธุรกิจมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าอย่างรวดเร็ว ตลอดจนทำให้บุคคลสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลถึงการพัฒนาผลิตภาพขององค์การ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น