สรุปท้ายบทที่ 2 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
ข้อมูล หมายถึงข้อมูลดิบที่ถูกเรียบเรียงจากแหล่งต่างๆ ทั้งภายในภายนอกองค์การ โดยข้อมูลดิบจะยังไม่มีความหมายในการนำไปใช้ประโยชน์หรือตรงตามความต้องการของผู้ใช้ ขณะที่สารสนเทศ หมายถึงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลข้อมูลดิบที่ถูกจัดเก็บไว้ไว้อย่างเป็นระบบ โดยผลลัพธ์ที่ได้สามารถนำไปประกอบการทำงาน โดยเฉพาะการตัดสินใจแก้ปัญหาหรือเลือกโอกาสทางธุรกิจ ดังนั้นเราสามารถกล่าวได้ว่า สารสนเทศเป็นข้อมูลที่มีความหมายหรือตรงตามความต้องการของผู้ใช้ เนื่องจากข้อมูลที่ดีย่อมเป็นวัตถุดิบสำหรับสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ ปัจจุบันข้อมูลและสารสนเทศที่มีคุณภาพจะช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจวางแผน กำหนดเป้าหมาย และแก้ปัญหาในการดำเนินงานที่เกิดขึ้นได้อย่างดี
ระบบ สารสนเทศเพื่อการจัดการ หมายถึง ระบบที่รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลจากแหล่งต่างๆทั้งภายในและภายนอก องค์การอย่างมีหลักเกณฑ์เพื่อนำมาประมวลผลให้ได้สารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการ ทำงานและการตัดสินใจของผู้บริหารในด้านต่างๆ เพื่อให้การดำเนินงานขององค์การเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยที่ ประกอบด้วยส่วนประกอบสำคัญ 3 ประการดังต่อไปนี้
1.เครื่องมือในการสร้าง MIS เป็นส่วนประกอบ
2.วิธีการประมวลเป็นลำดับชั้นในการประมวลผลข้อมูล
3.การแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากระบบสารสนเทศมักเป็นรูปของรายงานต่างๆ
MIS จะ ช่วยผู้บริหารในการเข้าถึงข้อมูล เพื่อนำมาประกอบการวางแผนตรวจสอบการดำเนินงาน โดยระบบสารสนเทศช่วยให้ผู้ใช้ค้นหาสาเหตุและการทำการแก้ปัญหาถ้าเกิดสิ่งผิด ปกติขึ้นในการดำเนินงาน กิจกรรมของระบบสารสนเทศที่กล่าวมาจะส่งผลให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในสภาวะทางธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงเช่นในปัจจุบัน นอกจากนี้ระบบสารสนเทศที่ดีควรมีความยืดหยุ่น เพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนการทำงานให้ตรงกับความต้องการีของผู้ใช้ได้ตลอด เวลา
ปัจจุบันผู้จัดการตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูง ผู้จัดการระดับกลาง และหัวหน้าพนักงานระดับปฏิบัติงาน โดยระบบสารสนเทศช่วยให้ใช้ค้นหาสาเหตุและทำการแก้ปัญหาถ้าเกิดสิ่งผิดปกติขึ้นในการดำเนินงาน กิจกรรมของระบบสารสนเทศที่กล่าวมาจะส่งผลให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในสภาวะทางธุรกิจทีมีการแข่งขันสูงเช่นในปัจจุบัน
ปัจจุบันผู้จัดการตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูง ผู้จัดการระดับกลาง และหัวหน้าพนักงานระดับปฏิบัติงาน ต่างเกี่ยวข้องกับสารสนเทศทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม โดยมีระดับการใช้งานสำคัญที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ดี ผู้จัดดารทุกคนต่างต้องมีความรับผิดชอบในการใช้งานระบบสารสนเทศขององค์การ โดยมีบทบาทสำคัญดังต่อไปนี้
-การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสร้างประสิทธิภาพ
-เข้าใจความต้องการของระบบและองค์การในสภาพแวดล้อมยุคโลกาภิวัฒน์
-ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพในการดำเนินงานทั่วทั้งองค์การ
-มีส่วนร่วมในการออกแบบและการพัฒนาโครงสร้างระบบสารสนเทศรวมขององค์การ
-บริหารและตัดสินใจในการสรรหาและคัดเลือกเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารโทรคมนาคม
-จัดการและควบคุมผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อผู้เกี่ยวข้อง
-ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการทำงานแก่ผู้ใช้อื่น
-เข้าใจประเด็นสำคัญด้านจริยธรรมที่เกี่ยวกับการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ
หน่วยงานสารสนเทศอาจเป็นหน่วยงานอิสระหรือขึ้นตรงกับหน่วยงานหลัก เช่น การเงิน การตลาด หรือการปฏิบัติการ ตลอดจนอาจถูกจัดตั้งแยกออกจากองค์การตามความเหมาะสมและความต้องการสารสนเทศ อย่างไรก็ดี การจัดการองค์การภายในหน่วยงานสารสนเทศจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ หน่วยวิเคราะห์และออกแบบระบบ หน่วยเขียนชุดคำสั่ง และหน่วยปฏิบัติการและบริการ
จากที่กล่าวมาทั้งหมดชี้ให้เห็นว่า IT ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงอะไรก็ตามย่อมมีผลกระทบต่อบุคคล องค์การ หรือสังคมทั้งทางบวกและทางลบ และจะเห็นได้ว่า ระบบข้อมูลสารสนเทศนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการดูแลรักษาความปลอดภัยของข้อมูล เนื่องจากการพัฒนา IT ทำให้เกิดผู้แพ้ ผู้ชนะ ผู้ได้ประโยชน์ และผู้เสียประโยชน์ ดังนั้นจริยธรรมจึงเป็นสิ่งที่สำคัญของผู้ที่ทำงาน และผู้ที่เกี่ยวของกับเทคโนโลยีสารสนเทศต้องตระหนักและให้ความสำคัญ โดยผู้ทำงานกับระบบสารสนเทศต้องคำนึงถึงจรรยาบรรณ ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 4 ส่วนด้วยกันคือ ความเป็นส่วนตัว ความถูกต้อง ความเป็นเจ้าของ และการเข้ามาใช้ข้อมูล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น