วันเสาร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

สรุปท้ายบทที่ 5 ระบบฐานข้อมูล


สรุปท้ายบทที่ 5 ระบบฐานข้อมูล

          การแบ่งแฟ้มข้อมูลออกเป็น 2 การ จัดแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ และการจัดแฟ้มข้อมูลแบบสุ่ม ซึ่งแต่ละแบบจะมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกัน ดังนั้นผู้ใช้ต้องตัดสินใจเลือกแบบที่สอดคล้องกับความต้องการของงาน และปัจจัยสนับสนุนของธุรกิจ

          ฐานข้อมูล หมายถึง การเก็บรวบรวมข้อมูลเข้าไว้ด้วยกันอย่างเป็นระบบและมีแผน ณ ที่ใดที่หนึ่งในองค์กร เพื่อที่ผู้ใช้จะสามารถนำข้อมูลมาประมวลผลและประยุกต์ใช้งานตามที่ต้องการ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยปกตินักวิชาการจะแบ่งโครงสร้างข้อมูลออกเป็น 2 ลักษณะคือ โครงสร้างเชิงกายภาพและโครงสร้างเชิงตรรกะ โครงสร้างเชิงตรรกะซึ่งสามารถแยกอธิบายด้วยแบบ จำแนกออกเป็น 3 ประเภท แบบจำลองการจัดข้อมูลลำดับขั้น แบบจำลองการจัดข้อมูลแบบเครือข่าย และแบบจำลองการจัดข้อมูลชิงสัมพันธ์
          ระบบจัดการฐานข้อมูล หรือ DBMS หมาย ถึง ชุดคำสั่งหรือทำหน้าที่สร้าง ควบคุมและดูแลฐานข้อมูล เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลและสามารถนำข้อมูลนั้นมาใช้งานได้ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยที่ DBMS จะทำหน้าที่เสมือนตัวกลางระหว่าชุดคำสั่ง สำหรับการใช้งานกับหน่วยเก็บข้อมูล DBMSจะประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก 3 ส่วน ภาษาสำหรับนิยามข้อมูลหรือ DDL ภาษาสำหรับการใช้ข้อมูลหรือ DML และพจนานุกรมข้อมูล การบริหารฐานข้อมูลจะครอบคลุมไปถึงเทคนิคการปฏิบัติในการจัดการฐานข้อมูล ทั้งเชิงตรรกะและเชิงกายภาพ ตลอดจนการออกแบบ การปรับปรุง การใช้งาน และดูแลรักษาระบบฐานข้อมูลให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยบุคคลที่ทำหน้าที่บริหารฐานข้อมูลจะถูกเรียกว่า ผู้บริหารฐานข้อมูล หรือDBA

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น