บทที่ 4 การพัฒนาระบบสาระสนเทศ
1. ผู้ใช้มีความสำคัญต่อการพัฒนาระบบสารสนเทศอย่างไรบ้าง
ตอบ ผู้ใช้ระบบ (System User) หมายถึงผู้จัดการที่ควบคุมและดูแลระบบสารสนเทศขององค์การและ/หรือเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานกับระบบสารสนเทศ ผู้ใช้จะเป็นบุคคลที่ใช้งานและปฏิสัมพันธ์กับระบบสารสนเทศโดยตรง ดังนั้นผู้ใช้ระบบจึงควรมีบทบาทที่สำคัญในการพัฒนาระบบสารสนเทศ ตั้งแต่เริ่มต้นที่จะพัฒนาระบบใหม่ให้กับองค์การ โดยบุคคลหรือกลุ่มควรที่จะมีการทำงานที่ใกล้ชิดกับทีมงานผู้พัฒนาระบบหรือเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของทีมงานผู้พัฒนาระบบ เพื่อให้การพัฒนาระบบใหม่สำเร็จลงด้วยดีทั้งในด้านงบประมาณ กรอบของระยะเวลา และตรงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
2. ปัจจัยที่ช่วยให้การพัฒนาระบบสารสนเทศประสบความสำเร็จมีอะไรบ้าง
ตอบ - ปัจจัยที่ช่วยให้การพัฒนาระบบสารสนเทศประสบความสำเร็จ คือ
1. ผู้ใช้ระบบ สมควรต้องมีส่วนร่วมตลอดกระบวนการพัฒนาระบบ
2. การวางแผน ระบบงานที่มีประสิทธิภาพจะเกิดจากการวางแผนการพัฒนาระบบอย่างรอบคอบและเป็นขั้นตอนที่ชัดเจน
3. การทดสอบ ทีมงานพัฒนาระบบต้องออกแบบกระบวนการดำเนินงานของระบบที่กำลังศึกษา
4.การจัดเก็บเอกสาร การพัฒนาระบบต้องมีระบบจัดเก็บเอกสารที่สมบูรณ์ ชัดเจนถูกต้อง ง่ายต่อการค้นหาและอ้างอิง
5.การเตรียมความพร้อม มีการวางแผนสร้างความเข้าใจและฝึกอบรมผู้ใช้ระบบ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมและสร้างความมั่นใจว่าผู้ใช้ระบบจะมีความพอใจ
6. การตรวจสอบและประเมินผล โดยดำเนินการเป็นระยะ ๆ ภายหลักจากติดตั้งระบบเพื่อที่จะพิจารณาว่าระบบสารสนเทศใหม่มีความสมบูรณ์
7.การบำรุงรักษา ระบบสารสนเทศที่ดีไม่เพียงแต่สามรถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่านั้น แต่ต้องออกแบบให้กระบวนการบำรุงรักษาสะดวก ง่าย และประหยัด
8. อนาคต เตรียมพร้อมสำหรับพัฒนาการในอนาคต ทีมงานพัฒนาระบบสมควรออกแบบระบบให้มีความ ยืดหยุ่นและสามารถที่จะพัฒนาในอนาคต
3. หน้าที่สำคัญของนักวิเคราะห์ระบบในการพัฒนาระบบสารสนเทศมีอะไรบ้าง
ตอบ - หน้าที่สำคัญของนักวิเคราะห์ระบบมีดังนี้
1. ติดต่อประสานงานกับผู้ใช้ระบบในหน่วยงานต่าง ๆ รวมทั้งผู้บริหารทุกระดับที่เกี่ยวข้องตลอดช่วงระยะพัฒนาระบบใหม่
2. รวบรวมข้อมูลของระบบเดิมเพื่อให้ทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้น และนำไปใช้เป็นข้อมูลส่วนหนึ่งในการพัฒนาระบบใหม่
3. วางแผนในแต่ละขั้นตอนของงานให้สอดคล้องกับความต้องการในปัจจุบัน และวางแผนให้สอดรับกับการขยายตัวขององค์การในอนาคตด้วย
4. ทำการออกแบบการทำงานของระบบใหม่ให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ระบบ และมีความเหมาะสมมากที่สุด
5. วิเคราะห์เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายกับผลประโยชน์ที่จะได้รับ
6. วิเคราะห์ข้อกำหนดด้านฐานข้อมูลรวมทั้งการพัฒนาโครงสร้างฐานข้อมูลที่สามารถใช้กับงานต่าง ๆ ในระบบได้
7. ทำเอกสารประกอบในแต่ละขั้นตอนของการวิเคราะห์ระบบโดยละเอียด
4. ทีมงานพัฒนาระบบสารสนเทศมีลักษณะอย่างไร ประกอบด้วยบุคคลใดบ้าง เพราะเหตุใดจึงต้องปฏิบัติงานร่วมกัน
ตอบ ทีมงานพัฒนาระบบ (System Development Team) เป็นกลุ่มบุคคลที่มีหน้าที่และความรับผิดชอบ และ/หรือมีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการพัฒนาระบบ ปกติการออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศในองค์การขนาดใหญ่ จะต้องมีการทำงานร่วมกันของสมาชิกทั้งหลายส่วน มีบุคคลกรดังนี้
1. คณะกรรมการดำเนินงาน (Steering Committee) มีหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกัลป์การดำเนินงานของโครงการพัฒนาระบบ
2. ผู้จัดการระบบสารสนเทศ (MIS Manager) เป็นบุคคลที่ทำหน้าที่ดูแลและประสานงานในการวางแผนงานของโครงงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและการพัฒนาระบบสารสนเทศขององค์การ
3. ผู้จัดการโครงการ (Project Manager) เป็นบุคคลที่มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการวางแผน การจัดการ และควบคุมให้งานแต่ละโครงการดำเนินไปได้อย่างราบรื่น
4. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) เป็นบุคคลสำคัญที่ก่อให้เกิดผลงานขึ้นในขั้นตอนต่าง ๆ ของการพัฒนาระบบ
5. นักเขียนโปรแกรม (Programmer) เป็นบุคคลสำคัญที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนาชุดคำสั่งการดำเนินงานให้กับระบบที่กำลังพัฒนา
6 . เจ้าหน้าที่รวบรวมข้อมูล (Information Center Personnel) ทำหน้าที่ช่วยเหลือนักวิเคราะห์ระบบและนักเขียนโปรแกรมในการพัฒนาระบบ
7. ผู้ใช้และผู้จัดการทั่วไป (User and General Manager) เป็นบุคคลที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบงานเดิม
5. วิธีพื้นฐานที่ใช้ในการพัฒนาระบบสารสนเทศมีกี่วิธี อะไรบ้าง
ตอบ วิธีพื้นฐานในการพัฒนาระบบสารสนเทศมี 4 วิธีดังต่อไปนี้
1. วิธีเฉพาะเจาะจง (Ad Hoc Approach) เป็นวิธีการแก้ปัญหาในงานใดงานหนึ่งโดยเฉพาะ
2. วิธีสร้างฐานข้อมูล (Database Approach) เป็นวิธีการที่นิยมใช้ในหลายองค์การที่ยังไม่มีความต้องการระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์
3. วิธีจากล่างขึ้นบน (Bottom-Up Approach) เป็นการพัฒนาระบบสารสนเทศจากระบบเดิมที่มีอยู่ภายในองค์การไปสู่ระบบใหม่ที่ต้องการ
4. วิธีจากบนลงล่าง (Top-Down Approach) เป็นวิธีการพัฒนาระบบจากนโยบายหรือความต้องการของผู้บริหารระดับสูง
6. การพัฒนาระบบสารสนเทศประกอบด้วยกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง
ตอบ การพัฒนาระบบสารสนเทศมี 5 ขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. การสำรวจเบื้องต้น (Preliminary Investigation) เป็นขั้นตอนแรกของการวิเคราะห์และพัฒนาระบบสารสนเทศ
2. การวิเคราะห์ความต้องการ (Requirement Analysis) เป็นขั้นตอนที่มุ่งเจาะลึกลงในรายละเอียดที่มากกว่าในขั้นสำรวจเป็นต้น
3. การออกแบบระบบ (System Design) ทีมงานพัฒนาระบบจะทำการออกแบบรายละเอียดส่วนต่าง ๆ ของระบบสารสนเทศ
4. การจัดหาอุปกรณ์ของระบบ (System Acquisition) ทีมงานพัฒนาระบบจะต้องกำหนดส่วนประกอบของระบบทั้งในด้านของอุปกรณ์และชุดคำสั่ง ตลอดจนบริการต่าง ๆ
5. การติดตั้งระบบและการบำรุงรักษา (System Implementation and Maintenance) ทีมงานพัฒนาระบบจะควบคุมและดูแลการติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ ของระบบใหม่
7. ทีมงานพัฒนาระบบสมควรต้องทำอะไรบ้างในขั้นสำรวจเบื้องต้น
- การสำรวจเบื้องต้น (Preliminary Investigation) เป็นขั้นตอนแรกของการวิเคราะห์และพัฒนาระบบสารสนเทศ โดยผู้พัฒนาระบบจะสำรวจหาข้อมูลในประเด็นต่าง ๆ เกี่ยวกับระบบงาน ได้แก่ ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ความเป็นได้ของการพัฒนาระบบที่ต้องการ
8. ทีมงานพัฒนาระบบสมควรต้องทำอะไรบ้างในขั้นวิเคราะห์ความต้องการ
- การวิเคราะห์ความต้องการเป็นขั้นตอนที่มุ่งเจาะลึกลงในรายละเอียดที่มากกว่าในขั้นสำรวจเบื้องต้น โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความต้องการของผู้ใช้
9. ทีมงานพัฒนาระบบสมควรต้องทำอะไรบ้างในขั้นออกแบบระบบ
- ทีมงานพัฒนาระบบจะทำการออกแบบรายละเอียดในส่วนต่าง ๆ ของระบบสารสนเทศ ได้แก่ การแสดงผลลัพธ์ การป้อนข้อมูล กระบวนการเก็บรักษา การปฏิบัติงาน และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบงานใหม่
10. ทีมงานพัฒนาระบบสมควรต้องทำอะไรบ้างในขั้นจัดหาอุปกรณ์ของระบบ
ตอบ การจัดหาอุปกรณ์ของระบบ ทีมงานพัฒนาระบบจะต้องกำหนดส่วนประกอบของระบบทั้งในด้านของอุปกรณ์และชุดคำสั่ง ตลอดจนบริการต่าง ๆ ที่ต้องการจากผู้ขาย
11. ทีมงานพัฒนาระบบสมควรต้องทำอะไรบ้างในขั้นติดตั้งระบบและการบำรุงรักษา
ตอบ การติดตั้งระบบและการบำรุงรักษา ทีมงานพัฒนาระบบจะควบคุมและดูแลการติดตั้งอุปกรณ์
ต่าง ๆ ของระบบใหม่ โดยดำเนินการด้วยตัวเองหรือจ้างผู้รับเหมา
12. รูปแบบของวงจรการพัฒนาระบบที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีกี่รูปแบบ อะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ รูปแบบของวงจรการพัฒนาระบบที่นิยมใช้ในปัจจุบันมี 4 รูปแบบ ดังนี้
1.รูปแบบน้ำตก (Waterfall Model) วงจรการพัฒนาระบบแบบนี้ได้เผยแพร่ใช้งานในปี
ค.ศ. 1970 เป็นรูปแบบที่มีมานานและเป็นที่นิยมใช้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
2.รูปแบบวิวัฒนาการ (Evolutionary Model) วงจรการพัฒนาระบบในรูปแบบวิวัฒนาการมีแนวความคิดที่เกิดมาจากทฤษฎีวิวัฒนาการ โดยพัฒนาระบบจนเสร็จสิ้นสมบูรณ์
3.รูปแบบค่อยเป็นค่อยไป (Incremental Model) วงจรการพัฒนาระบบในรูปแบบค่อยเป็นค่อยไปมีลักษณะคล้ายคลึงกับรูปแบบวิวัฒนาการ แต่มีข้อแตกต่างกันตรงที่ระบบที่ได้ในแต่ละช่วง
4.รูปแบบเกลียว (Spiral Model) วงจรการพัฒนาระบบในรูปแบบเกลียว จะมีลักษณะที่กระบวนการวิเคราะห์ การออกแบบ และการพัฒนา จะวนกลับมาในแนวทางเดิมเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ
13. การปรับเปลี่ยนระบบมีกี่วิธี อะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ การปรับเปลี่ยนระบบมี 4 วิธีดังนี้
1. การปรับเปลี่ยนโดยตรง (Direct Conversion) เป็นการแทนที่ระบบสารสนเทศเดิมด้วยระบบใหม่อย่างสมบูรณ์ โยการหยุดใช้ระบบเก่าอย่างสิ้นเชิงและเปลี่ยนไปใช้ระบบใหม่ในทันที
2. การปรับเปลี่ยนแบบขนาน (Parallel Conversion) เป็นการดำเนินการโดยใช้งานทั้งระบบสารสนเทศเก่าและระบบใหม่ไปพร้อม ๆ กันในช่วงระยะเวลาหนึ่ง
3. การปรับเปลี่ยนแบบเป็นระยะ (Phased Conversion) เป็นการปรับเปลี่ยนระบบสารสนเทศเก่าไปใช้ระบบสารสนเทศใหม่เฉพาะงานด้านใดด้านหนึ่งก่อน 4. การปรับเปลี่ยนแบบนำร่อง (Pilot Conversion) เป็นการปรับเปลี่ยนไปใช้ระบบสารสนเทศใหม่อย่างเป็นขั้นตอนและค่อยเป็นค่อยไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น